การพัฒนาอาหารสมดุลสะดวกพกพาสำหรับผู้ใหญ่

โดย: น.ส.นฤมล เบญจมินทร์, น.ส.ปัญญดา คุณมงคลวุฒิ    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: ผุสนี ทัดพินิจ ,    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: อาหารสมดุลสะดวกพกพา, Balance diet
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตั้งแต่เรื่องของความเป็นอยู่ การ เรียน การทำงานที่เต็มไปด้วยความรีบเร่ง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน(fast food) ที่ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาทางภาวะโภชนาการและนำมาสู่โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันผิดปกติ, เบาหวาน ฯลฯ จึงเป็นที่มาของการวิจัยและพัฒนาอาหารสมดุลสะดวกพกพา สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ตามที่ร่างกายต้องการ มีความสะอาดและสะดวกในการพกพา วิธีดำเนินการทดลองเริ่มจากการ คัดเลือกสูตรตำรับอาหารเหลวปั่นผสมที่มีการพัฒนาไว้แล้ว 2 สูตร คือ สูตรนมและสูตรตับ โดย ทดลองปั่นผสมและอบแห้ง จากนั้นนำสูตรนมมาพัฒนาต่อ เนื่องจากให้รสและกลิ่นที่ดี ต่อจากนั้น จึงคิดค้นและพัฒนารูปแบบของอาหารสมดุลเพื่อให้ได้รูปแบบที่มีความคงตัวที่อุณหภูมิห้องและ สะดวกในการพกพา จากการทดลองพบว่า อาหารสมดุลในรูปแบบวุ้นกรอบสามารถคงตัวอยู่ที่ อุณหภูมิห้องได้และพกพาสะดวก จากการพัฒนาได้สูตรวุ้นกรอบ 4 สูตร โดยมีการปรับปรุงรสชาติ ด้วยเก็กฮวยในปริมาณ 0%,10%,20% และ 30% ตามลำดับ จากการทำ sensory test โดยใช้ Hedonic scaling method คะแนนความชอบของสูตร 1 ถึง 4 เท่ากับ 5.83, 5.75, 5.53 และ 3.77 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นเท่ากับ 5.9, 6.13, 5.55 และ 6.1 ตามลำดับ
abstract:
According to lifestyle of hard working and lack of time, fast food is the most convenient way of getting foods for eating that may be lead to health problems such as hypertension, dyslipidemia, diabetes, etc. This project has been performed to develop the balance diet that can be kept at room temperature and convenient for carrying and eating. At first, the previous two formulated formulas have been selected, the milk based formula has been selected for further flavor and texture development. After several trying, we were concluded that the preferable texture comes from agar base and Chrysanthemum flower (Chrysanthemum indicum L.) as flavoring agent. From the experiment we get 4 formulas using the water extract of Chrysanthemum flower 0%, 10%, 20% and 30% respectively. According to sensory test by using hedonic scaling method, the preferable scores were 5.83, 5.75, 5.53 and 3.77 respectively while the moisture contents were 5.9, 6.13, 5.55 and 6.1 respectively.
.