ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นในปากจากพริกเพื่อใช้แก้ง่วง

โดย: สมเจตน์ แจ่มประแดง, สุดารัตน์ โชคกิจชัย    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 42

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิมล ศรีศุข , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์ , นันทวัน บุณยะประภัศร , สุวรรณ ธีระวรพันธ์ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่น, พริกขี้หนูแดง, ผลิตภัณฑ์แก้ง่วง, Oral spray, Capsicum frutescens L., Wake-up product
บทคัดย่อ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นในปากจากพริก เพื่อแก้ง่วง ซึ่งนํามาใช้แทนสารกระตุ้นแก้ง่วงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย พริกที่เลือกใช้คือพริกขี้หนูแดง (Capsicum frutescens L.) โดยส่วนประกอบของตํารับผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยสารสกัดเข้มข้นของพริกใน 95% ethyl alcohol ในปริมาณร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ PEG40 hydrogenated castor oil, กรดซิตริก, Acesulfame –K, โซเดียมคลอไรด์, เจลาติน, โซเดียม เบนโซเอต, เมนทอล, สารแต่งสีส้มและสารแต่งรสส้ม ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลายใสสีส้ม ทําการประเมินผลิตภัณฑ์แก้ง่วงใน อาสาสมัครชาย-หญิงคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จํานวน 30 คน แปลผลทางสถิติโดยวิธี Analysis of Variance พบว่าการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์เข้าทางปากทําให้ค่าความดัน systolic, diastolic, อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความดันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติ ในขณะที่เฉพาะค่าความดัน systolic, อัตราการเต้นของหัวใจและค่าความดันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นในปากที่ไม่มีสารสกัดจากพริก (control) สําหรับการประเมินโดย Home Use Test ในอาสาสมัครจํานวน 50 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มคนที่อ่านหนังสือ และกลุ่มคนที่ทํางาน พบว่าอาสาสมัคร 50 คนมีระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเฉลี่ยเท่ากับ 0.93 นาทีและระยะเวลาที่คงความรู้สึกตื่นตัวหายง่วงหลังจาการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์พริกขี้หนูแดงเฉลี่ยเท่ากับ 7.92 นาที โดยกลุ่มคนที่อ่านหนังสือมีระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเฉลี่ยเท่ากับ 0.77 นาที และระยะเวลาคงความรู้สึกตื่นตัวหายง่วงหลังจากการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์พริกขี้หนูแดงเฉลี่ยเท่ากับ 6.23 นาที ส่วนในกลุ่มคนทํางานมีระยะเวลาเริ่มรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเฉลี่ยเท่ากับ 1.1 นาทีและระยะเวลาที่คงความรู้สึกตื่นตัวหายง่วงเฉลี่ย 9.6 นาที
abstract:
A wake-up oral spray from a capsicum fruit, Phrik Kheenuu Daeng (Capsicum frutescens L.) (PKD), was developed in order to be used in place of stimulating products which were detrimental to health. The formula consisted of the concentrated form of 95% ethanol extract of PKD, at 5% v/v; other ingredients were PEG40 hydrogenated castor oil, citric acid, Acesulfame-K, sodium chloride, gelatin, sodium benzoate, menthol, orange colorant and flavoring agent. The capsicum spray, a clear orange solution, was evaluated among 30 male and female pharmacy student volunteers. The result was analyzed using Analysis of Variance. The capsicum spray caused significant increase (P<0.05) in systolic blood pressure, diastolic blood pressure, heart rate and mean arterial pressure immediately after administration compared to the normal state. When the capsicum spray was compared to the control formula, only systolic blood pressure, heart rate, and mean arterial pressure were significantly increased (P<0.05). In Home Use Test, the capsicum spray was distributed among 50 people, divided into 2 groups. Group 1 consisted of people who read while Group 2 were working people. It was found that among 50 volunteers, the average onset of alertness was 0.93 minute and the average duration of alertness was 7.92 minutes. The results showed that in Group 1, the average onset of alertness was 0.77 minute and ง the average duration of alertness was 6.23 minutes while in Group 2, the average onset of alertness was 1.1 minutes and the average duration of alertness was 9.6 minutes.
.