การพัฒนาตำรับยาฉีดเด็กซ่าเมธาโซนโซเดียมฟอสเฟต

โดย: กมลเนตร จิระประภูศักดิ์,นันทิยา บุณยะจินดา    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 41

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
เนื่องจากเดกซาเมธาโซนไม่ค่อยละลายน้ำ จึงมีการนำเดกซาเมธาโซนโซเดียมฟอสเฟต ซึ่งมีขีดการละลายน้ำสูง มาใช้เป็นตัวยาสำคัญในการเตรียมยาฉีด ข้อเสียคือ ง่ายต่อการออกซิไดซ์ และสามารถเร่งปฏิกิริยาการเสื่อมสลายได้โดยแสง และความร้อน การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาอิทธิพลของชนิดบัฟเฟอร์ สารต้านออกซิเดชั่นและอุณหภูมิที่มีผลต่อความคงสภาพของยาฉีดเดกซาเมธาโซนโซเดียมฟอสเฟต บัฟเฟอร์ที่เลือกใช้คือซิเตรทและฟอสเฟตบัฟเฟอร์ สารต้านออกซิเดชั่นที่เลือกใช้ คือ โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ โซเดียมไบซัลไฟต์ โซเดียมซัลไฟต์ อุณหภูมิในการเก็บรักษาคือ อุณหภูมิห้อง (30 oซ.) และอุณหภูมิในสภาวะเร่งอัตราเร็วของปฏิกิริยาการสลายตัว (45 oซ.) จากการศึกษาที่อุณหภูมิ 30 oซ. พบว่า การใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ ทำให้ตำรับยาฉีดมีความคงตัวสูงสุดทั้งในซิเตรทและฟอสเฟตบัฟเฟอร์ สารต้านออกซิเดชั่นที่ดีรองลงมาคือ โซเดียมไบซัลไฟต์ในซิเตรทบัฟเฟอร์ และโซเดียมซัลไฟต์ในฟอสเฟตบัฟเฟอร์ตามลำดับ ส่วนโซเดียมไบซัลไฟต์และโซเดียมซัลไฟต์ เป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่ไม่ดีในฟอสเฟตและซิเตรทบัฟเฟอร์ตามลำดับ โดยให้อัตราเร็วของปฏิกิริยาการสลายตัวของตัวยาสูงมากกว่าตำรับอื่นๆ ที่อุณหภูมิ 45 oซ. พบว่า ระบบฟอสเฟตบัฟเฟอร์ การเลือกใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ เป็นสารต้านออกซิเดชั่นให้ผลดีกว่า โซเดียมซัลไฟต์ และโซเดียมไบซัลไฟต์ตามลำดับ ส่วนระบบซิเตรทบัฟเฟอร์ การเลือกใช้โซเดียมไบซัลไฟต์ จะให้ความคงสภาพของยาฉีดดีกว่า โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ และโซเดียมซัลไฟต์ ตามลำดับ
abstract:
The effects of types of buffers and antioxidants on the chemical stability of dexamethasone sodium phosphate injections at the storage temperatures of 30 0 C and 45 0 C ere studied. Sodium citrate and sodium monohydrogen phosphate were used to contribute citrate and phosphate buffer systems, respectively. Sodium sulfite, sodium bisulfite and sodium metabisulfite were used as antioxidants in formulations of injections.From stability tests at 30 0 C, it was found that sodium metabisulfite was the best antioxidant for both bufter systems, whereas the second and the third were sodium bisulfite in citrate bufter and sodium sulfite in phosphate buffer respectively, sodium bisulfite and sodium sulfite were not the appropriate antioxidant in phosphate and citrate buffer systems, respectively. From stability tests at accelerated temperature of 45 0 C, the antioxidants could be ranked according to their efficiency in drug stabilization as follows: sodiummetabisulfte > sodium sulfite > sodium bisulfite in the case of phosphate buffer system, but as follows: sodium bisulfite > sodium metabisulfite > sodium sulfite in the case of citrate buffer system. Sodium metabisulfite in phosphate buffer was the best antioxidant, while the second best was sodium bisulfite in citrate buffer.
.