การพัฒนาตำรับแผ่นฟิลม์สมานแผลในปาก

โดย: ฐิติรัตน์ จันทบุรานันท์, ประเสริฐ ลีวัฒนภัทร    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 4

อาจารย์ที่ปรึกษา: ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ฟิล์มสมานแผล,ไตรแอมซิโนโลน,เมทิลเซลลูโลส,ไฮดรอกซีโพรพิล เมทิลเซลลูโลส, Healing film, Triamcinolone acetonide, Methylcellulose, Hydroxypropyl methylcellulose
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับยา triamcinolone acetonide ในรูปแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ลดการอักเสบและสมานแผลในช่องปาก โพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารก่อฟิล์มคือ methylcellulose (MC) 4000 (มวลโมเลกุล 330,000) และ hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) E15 (มวลโมเลกุล 63,000) โดยเตรียมฟิล์มด้วยโพลิเมอร์ที่ความเข้มข้น 0.5, 1.0 , 2.0 และ 3.0% โดยน้ำหนัก ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นฟิล์มที่เตรียมขึ้น ได้แก่ ความหนา ความสม่ำเสมอของน้ำหนัก การละลาย ความสามารถในการลอกฟิล์มออกจากแผ่นกระจก ความยืดหยุ่น และลักษณะภายนอก เพื่อคัดเลือกความเข้มข้นและปริมาณของโพลิเมอร์และความเข้มข้นของกลีเซอรีนที่เหมาะสมสำหรับเตรียมฟิล์มแต่ละชนิดเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ซึ่งพบว่าสูตรตำรับที่เหมาะสมของโพลิเมอร์ทั้งสองชนิดสำหรับนำมาเติม triamnicolone acetonide เข้มข้น 0.1% คือ MC 2.0% + Glycerin 0.1% โดยน้ำหนักปริมาณ 30 กรัม และ HPMC 3.0% โดยน้ำหนัก ปริมาณ 40 กรัม จากการศึกษาได้ทดสอบการปลดปล่อยตัวยาออกจากแผ่นฟิล์ม triamcinolone acetonide ผ่าน cellulose ester tubing (molecular weight cut off 12,000-14,000 ดาลตัน) และวิเคราะห์ตัวยาด้วย ultraviolet spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 238.8 นาโนเมตร พบว่า การดูดกลื่นแสงของโพลิเมอร์และตัวยาซ้อนทับกันบางส่วน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการศึกษาการปลดปล่อยตัวยาจากแผ่นฟิล์มดังกล่าวต่อไป
abstract:
The objective of this investigation to develop triamcinolone acetonide films in order to relief information and heal ulcers in buccal. Two polymers, methylcellulose (MC) 4,000 (MW 330,000) and hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) E15 (MW 63,000), were used to prepare the film at various concentrations (0.5,1.0,2.0 and 3.0% w/w) and amounts (20,30 and 40 g) of polymer solutions using glycerin as a plasticizer at different concentrations; i.e. 0.1,0.25,0.5,1.0 and 3.0% w/w. Physical characteristics of the films such as thickness , weight , dissolution , ability of peeling from the glass plate, elasticity and appearance were evaluated to determine suitable concentrations and an amounts of polymer solution and concentration of glycerin for further development. It was found that the prapared films obtained from 30 g of 2.0% MC adding glycerin 0.1% and 40 g of 3.0% HPMC showed good physical properties. Consequently, the film of 0.1% triamcinolone acetonide were prepared in those 2 formulations. For the release study, the drug release from 0.1% triamcinolone acetonide film to cellulose acetate tubing (molecular weight cut off 12,000-14,000 dalton) was examined. Ultraviolet spectrophotometer at wavelength of 238.8 nm was used to analyze the amount of drug release. It was found that the absorbance of the drug was partially interfered by that of polymers. Therefore, the method for studying drug release should be further developed.
.