ระบาดวิทยาของการใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วย โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

โดย: นส.วิภา เต็งอภิชาติ,นส.สุธีรา สังข์ศิริ    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 4

อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์ , ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ยาลดน้ำตาลในเลือด, ระบาดวิทยา, Type 2 Diabetes, Antihyperglycemic drug, Hypoglycemic drug, Epidemiology
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการสั่งใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยจำนวน 133 คน ซึ่งทำการศึกษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 จากข้อมูลรูปแบบการรักษาเริ่มต้นของผู้ป่วย 133 คน พบว่าผู้ป่วย 92 คน (ร้อยละ 69.2) เริ่มต้นการรักษาด้วยยารูปแบบเดี่ยว โดยผู้ป่วย 72 คน (ร้อยละ 78.3) ใช้ยากลุ่มซัลฟอร์นิลยูเรีย และผู้ป่วย 20 คน (ร้อยละ 21.7) ใช้ยาเมทฟอร์มิน ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่มซัลฟอร์นิลยูเรีย จำนวน 51 จาก 78 คน (ร้อยละ 65.4) มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเท่ากับ 3.3 กิโลกรัม แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา เมทฟอร์มิน จำนวน 22 จาก 30 คน (ร้อยละ 73.3) มีน้ำหนักตัวลดลง เฉลี่ยเท่ากับ 3.6 กิโลกรัม ข้อมูลผู้ป่วย 121 คน ที่รักษาด้วยยาเดี่ยวพบว่า 82 คน (ร้อยละ 67.8) จะต้องเปลี่ยนไปใช้ยาสองชนิดร่วมกัน และภายหลังจากการใช้ยาสองชนิดร่วมกัน พบว่าผู้ป่วย 9 ใน 73 คน (ร้อยละ 12.3) จะมีการเพิ่มยาตัวที่ 3 และ 13 ใน 73 คน (ร้อยละ 17.8) จะมีการเริ่มใช้อินสุลิน จากข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 133 คน พบว่ามี 19 คน (ร้อยละ 14.3) ได้รับยาในกลุ่มอัลฟ่ากลูโคซิเดส อินฮิบิเตอร์ 5 คน (ร้อยละ 3.8) ได้รับยาในกลุ่มไทอะโซลิดีนไดโอน และ 3 คน (ร้อยละ 2.2) ได้รับยาในกลุ่มนันซัลโฟนีลยูเรีย ซีครีทากอก ซึ่งจากผลการศึกษาสรุปได้ว่ายากลุ่มซัลฟอร์นิลยูเรีย เป็นยาที่มีการใช้มากที่สุดในรูปยาเดี่ยว สำหรับผลของยาต่อน้ำหนักตัวพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาเมทฟอร์มินส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวลดลง จึงพบว่าการสั่งใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน ในปัจจุบันจะมีแนวโน้มในการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มินเพิ่มมากขึ้น และภายหลังจากการใช้ยารูปแบบเดี่ยวไประยะเวลาหนึ่ง พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมได้จนต้องมีการเปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือดสองชนิดร่วมกัน
abstract:
The objective of this special project was to determine the pattern of hypoglycemic drugs in type 2 diabetic patients. The study was a retrospective chart review of 133 out patients at Ramathibodi hospital. The data was collected from the diagnostic date until July 2003. One hundred and thirty-three patients were recruited into the study. Of these, 92 patients (69.2%) were receiving monotherapy [72 patients (78.2%) took sulfonylureas, 20 patients (21.7%) took metformin]. These were 78 and 30 patients took sulfonylureas and metformin, respectively. Of the sulfonylureas group, 51patients (65.4%) had weight gain approximately 3.3 kilogram. Of the metformin group, 22 patients (73.3%) had weight loss approximately 3.6 kilogram. Of 121 patients using monotherapy, 82 patients (67.8%) had changed to dual therapy. After using dual therapy, 9 of 73 patients (12.3%) were undergone triple therapy, and 13 of 73 patients (17.8%) started insulin treatment. Of 133 patients, 19 patients (14.3%) took alpha-glucosidase inhibitors, 5 patients (3.8%) took thiazolidinediones, 3 patients (2.2%) took non-sulfonylurea secretagogues. The study has been shown that the most widely of hypoglycemic drugs used in monotherapy is sulfonylureas. And most of patients who treated with metformin had weight loss. At the present, the trend of prescribing metformin in obese patients has increased. After using monotherapy for a period of time, most patients were uncontrolled therefore they had changed to dual therapy.
.