การใช้ยาของเจ้าพนักงานจราจร และ พนักงานขับรถข.ส.ม.ก.

โดย: ฤกษ์ชัย ปรีชาสุปัญญา,สุพัฒน์ วุฒิสุพงศ์    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 4

อาจารย์ที่ปรึกษา: เสริมสิริ วินิจฉัยกุล , ปราณี ใจอาจ    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
สภาวะแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครนั้นจัดอยู่ในสภาวะที่มีมลพิษสูงทั้งฝุ่นและควันซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องสัมผัสหรือทำงานอยู่บนท้องถนนทุกวัน เช่น เจ้าพนักงานจราจร,พนักงานขับรถประจำทาง พบว่ามีความผิดปกติของปอด มีปัญหาสุขภาพ มีโรคระบบหายใจอักเสบเรื้อรัง โรคประสาทหูเสื่อมร่วมกับโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง บุคคลเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสุขภาพของตนพร้อมทั้งการใชัยาป้องกันหรือรักษา การวิจัยนี้ศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพและการใช้ยาของเจ้าพนักงานจราจรและพนักงานขับรถ ข.ส.ม.ก. ในกรุงเทพมหานคร ดำเนินงานโดยการสำรวจและใช้แบบสอบถามและทำการสัมภาษณ์ข้อมูลในด้านสุขภาพของบุคคล 2 กลุ่มดังกล่าวประมาณ 100 รายได้รับตอบร้อยละ100 และทำการวิเคราะห์ประเมินผลซึ่งสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพพลานามัยของพนักงานขับรถข.ส.ม.ก.ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สำหรับเจ้าพนักงานจราจรมีบ้างแต่เป็นจำนวนน้อย อาจเป็นเพราะมีการป้องกันตนเองดีหรืออาจเนื่องจากการสุ่มตัวอย่างจำนวนคนน้อยเกินไปหรือสุ่มตัวอย่างครบแต่บุคคลากรที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ได้ นอกจากนี้บริเวณที่ทำการสัมภาษณ์อยู่ในเขตที่มีมลภาวะไม่ถึงขั้นวิกฤตก็อาจเป็นได้ การใช้ยาในพนักงานขับรถ ข.ส.ม.ก. พบว่าที่ใช้เป็นประจำคือยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล คิดเป็นร้อยละ 72 และการใช้เครื่องดื่มที่โฆษณาว่าบำรุงร่างกายในการกระตุ้นการทำงานของร่างกายคิดเป็นร้อยละ 72 แต่ไม่ปรากฎว่าใช้ยาระงับประสาท ส่วนเจ้าพนักงานจราจรพบว่ายาที่ใช้เป็นประจำคือพาราเซตามอล คิดเป็นร้อยละ 14 และไม่ปรากฏว่าใช้ยาระงับประสาทและ/หรือเครื่องดื่มที่โฆษณาว่ากระตุ้นร่างกาย
abstract:
Nowadays, the environment in Bangkok is heavily polluted by dust and smoke. This polluted encompassment is extremely harzadous to people who live and work near streets such as metropolitan traffic polices and bus drivers. These people often suffer from a chronic obstructive pulmonary disease, nerve deafness and also have a chronic leaded disease. Unfortunately, they have low income and usually get medicines from drug store rather than seeing doctor for proper treatments. Here we try to analyze the behaviors of Bangkok polices and bus drivers about drug consumption. We sent the questionnaire to 2 groups of people. Based on their information, we found that the bus drivers usually suffered from chronic obstructive pulmonary disease. On the other hand, very few policemen got these. This unexpected data may come from variable factors : 1) the policeman might have good self protection from the pollution; 2) the sampling groups be not randomized or statistically significant; 3) the place where the police work may not be critically polluted. We also found that 72% of the bus drivers have used paracetamol regularly and also 72% of the population use stimulant beverage but not tranquilizer. For the police, 14% of the population use paracetamol when needed. However, they do not have neither tranquilizer nor stimulant.
.