การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

โดย: นิติรัฐ วิเศษกิจ, บุญเลิศ ลิ่มวงศ์สุวรรณ    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 39

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , อรภรณ์ สวนชัง , วรารัตน์ กิตติกุลสุทธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม, ผู้ป่วยสูงอายุ, การให้คำปรึกษาแนะนำผู้ดูแล, Pharmaceutical care, demented patients, geriatric patients, caregiver counseling
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา โดยทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมทั้งศึกษาอาการและการใช้ยาของผู้ป่วยจากข้อมูลในเวชระเบียน และมีการจัดทำและแจกเอกสารให้ความรู้เรื่องยาแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่มาพบแพทย์ตามนัดในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2549 ที่คลินิกความจำ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จากการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม 30 คนผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 59 – 86 ปีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมแบบต่าง ๆ ได้แก่ Probable Alzheimer’s disease (AD) 6 ราย, Vascular dementia 4 รายและจากสาเหตุอื่น ๆ 20 ราย ตรวจพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 101 ครั้ง พบปัญหาจากการใช้ยาที่มากที่สุดคือ การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 25 ครั้ง เช่น อาการฝันร้ายจากการได้รับ donepezil รองลงมาคือขนาดยาที่ได้รับไม่เหมาะสมต่อภาวะโรค 24 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยยังคงมีอาการหวาดระแวงหลังได้รับ quetiapine ขนาด 25 mg และกรณีที่ไม่ได้รับยาในการรักษาอาการที่เกิดขึ้น 16 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยไม่ได้รับ antipsychotic ทั้ง ๆ ที่มีอาการก้าวร้าว นอกจากนี้ยังตรวจพบปฏิกิริยาระหว่างยา 9 คู่ เช่น ได้รับ fluoxetine ร่วมกับ diazepam ปัญหาที่ได้ปรึกษาแพทย์มีทั้งสิ้น 22 ครั้ง โดยแพทย์ผู้ทำการรักษารับฟังและยินยอมแก้ไขตามที่เภสัชกรรายงานทุกครั้ง จากการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่ยินยอมให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์จำนวน 26 คน พบว่าผู้ดูแลทั้งหมดไม่มีความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยา อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยาที่ผู้ป่วยใช้รวมทั้งวิธีแก้ไข จากข้อมูลข้างต้น เภสัชกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมทั้งให้ความรู้เรื่องยาแก่ผู้ดูแล ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จากโครงการพิเศษครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ณ คลินิกความจำต่อไปในอนาคต
abstract:
The objectives of this special project were to analyze and evaluate drug use in demented patients and also to solve drug-related problems. The study was performed by interviewing patients and their caregivers, evaluating patients’ symptoms and reviewing drug use from medical records during July to September 2006 at memory clinic, Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Leaflet of drug use information in demented patients was also developed and distributed to patient’s caregivers. The pharmaceutical care was performed in 30 demented cases age range between 59 – 86 years. Of these cases, 6 were diagnosed of probable Alzheimer’s disease (AD), 4 cases of vascular dementia and another 20 demented cases. One hundred and one drug-related problems (DRP) were identified. The most common DRP was adverse drug reaction (25/101) e.g. nightmare from donepezil before bedtime; inappropriate dosage (24/101) e.g. paranoid still existed after receiving quetiapine in a dose of 25 mg hs; untreated indication (16/101) e.g. patient did not receive antipsychotic to control aggression. In addition, 9 drug-drug interactions were detected e.g. fluoxetine in combination with diazepam. Twenty-two interventions had been consulted and all were accepted by the treating physician. Twenty–six patient’s caregivers were interviewed for information of drug used in demented patients. All of them were lack of knowledge about adverse drug reaction and its management, as well as drug–drug interaction. From this study, it was shown that pharmacists can play a major role in solving drug-related problems. Furthermore, pharmacists can educate caregivers concerning drug knowledge in order to increase the effectiveness of treatment. The data from this
.