การวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของโบทูลินัมทอกซินในการรักษาอาการปวดศีรษะ tension type

โดย: วิชิต ประเสริฐศิลปกุล, ศิริวัฒน์ กมลศิริประเสริฐ    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 38

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , นลินี พูลทรัพย์ , วรารัตน์ กิตติกุลสุทธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: โบทูลินัมทอกซิน, ปวดศีรษะ tension type, การวิเคราะห์อภิมาน, botulinum toxin, tension type headache, meta-analysis
บทคัดย่อ:
อาการปวดศีรษะ tension type เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุจากพยาธิ สภาพของ pericranial muscle และเนื่องจากโบทูลินัมทอกซินมีกลไกในการลดการหลั่งของ neurotransmitter หลายชนิด จึงนำมาซึ่งการศึกษาโบทูลินัมทอกซินในการรักษาอาการปวดศีรษะ tension type ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และทำการ วิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ถึงผลดังกล่าวของโบทูลินัมทอกซิน คำที่ใช้สืบค้นงานวิจัย คือ “botulinum toxin” และ ”tension type headache” โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล “Pubmed”, “Ovid” และ “The Cochrane Library” ระหว่างปี ค.ศ.1980-มิถุนายน 2006 โดยจำกัดเพียงงานวิจัยชนิด randomized controlled trial (RCT) ผลการสืบค้นพบ 6 รายงานวิจัยที่มีการศึกษาถึงผลของโบทู ลินัมทอกซินในการรักษาอาการปวดศีรษะ tension type และมีเพียง 4 รายงานที่เข้าเกณฑ์การ วิเคราะห์อภิมาน โดยแบ่งเป็นงานวิจัยของ Dysport® 2 รายงาน รวมจำนวนผู้ป่วย 115 คน และ ของ Botox® อีก 2 รายงาน รวมจำนวนผู้ป่วย 100 คน ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า โบทูลินัมทอกซินชนิด A แบบ Dysport® ขนาด 500 MU ไม่ สามารถลดความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดศีรษะ tension type ได้เมื่อเทียบกับยาหลอก (placebo) โดยพบว่าค่า mean difference ของ AUC [pain intensity x pain duration] = 0.09 (95%CI = -43.05 ถึง 43.24, p value = 0.99) นอกจากนี้โบทูลินัมทอกซินชนิด A แบบ Botox® ขนาด 100 MU ไม่สามารถลดความรุนแรงในการปวดศีรษะ tension type ได้เมื่อเทียบกับยา หลอกเช่นเดียวกันโดยพบว่าค่า effect size ของ pain intensity = -0.02 (95%CI = -0.42 ถึง 0.37, p value =0.92) จากการวิเคราะห์อภิมานสามารถสรุปว่าโบทูลินัมทอกซินชนิด A ไม่มี ประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดศีรษะ tension type
abstract:
Tension type headache is a common type of headache due to pathophysiological change of pericranial muscle. Botulinum toxin can reduce presynaptic release of various neurotransmitters. Therefore, several clinical studies had investigated the effect of botulinum toxin for treating tension type headache. We have performed systematic review and meta-analysis of these studies. The following medical subject heading search terms “botulinum toxin” and “tension type headache” were searched in “Pubmed”, “Ovid” and “The Cochrane Library” from 1980 to June 2006. In this search, limitation was “randomized controlled trial (RCT)”. We found six trials from these databases involving treatment of tension type headache. Four from six trials were eligible for meta-analysis divided into 2 papers of Dysport® (n = 115) and 2 papers of Botox® (n = 100). The results from meta-analysis revealed that 500 MU botulinum toxin type A [Dysport®] can not reduce pain and duration from tension type headache when compared with placebo. Score of pooled mean difference of AUC [pain intensity x pain duration] is 0.09 (95%CI = -43.05 ถึง 43.24, p value = 0.99). Furthermore, 100 MU botulinum toxin type A [Botox®] can not reduce pain from tension type headache when compared with placebo, that is the same way as Dysport®. Score of pooled effect size of pain intensity is -0.02 (95%CI = -0.42 to 0.37, p value = 0.92) In summary, the results from this project reveal that botulinum toxin type A dose not have the efficacy in the treatment of tension type headache. ค
.