พฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลมะเม่า (Antidesma ghaesembilla)

โดย: นายปพนพัชร์ วรสกุลเกียรติ์,นายอภิรัตน์ แจ่มโนนคูณ    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 37

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , วันดี กฤษณพันธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: มะเม่า, Antidesma ghaesembilla, แอนโธไซยานิน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฟีโนลิก, โครมาโทกราฟี, Mamao, Antidesma ghaesembilla, Anthocyanin, Free radical scavenging activity, Phenolics, Chromatographic technique
บทคัดย่อ:
มะเม่า (Antidesma ghaesembilla)เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae ที่มีผลสีม่วงแดงอุดมไปด้วยสารกลุ่มแอนโธไซยานินและมีการนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในทางโภชนาการมากมาย เช่น ไวน์ แยมและน้ำผลไม้ โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดจากผลมะเม่าแก่จัด (ผลมะเม่าสีม่วง) ที่เตรียมโดยวิธีการสกัดและตัวทำละลายต่างๆ ได้แก่ การคั้นสด การต้มกับน้ำและการหมักกับตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น อะซีโตน เอธานอล และเมธานอล โดยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณแอนโธไซนานินรวมและฟีโนลิกรวมโดยใช้วิธีการทางสเปคโตรโฟโตเมตรี ผลการทดลองพบว่า สารสกัดน้ำต้มผลมะเม่าแสดงฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า IC50เท่ากับ 91.62?4.74 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำคั้นสดมีปริมาณฟีโนลิกรวมและแอนโธไซยานินรวมสูงที่สุดคือ 2.63?1.02กรัมgallic acid equivalentต่อ 100 กรัมสารสกัด (g%GAE) และ 61.51 ? 0.95 กรัม cyanidin-3-glucoside equivalent ต่อ100 กรัมสารสกัด (g%C-3-GE) ตามลำดับ จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารสำคัญในสารสกัดน้ำต้มผลมะเม่าแก่ (ผลมะเม่าสีแดง) พบว่า สารสกัดผลมะเม่าสีแดงแสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดผลมะเม่าสีม่วง โดยมีค่า IC50เท่ากับ72.42 ? 3.52 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและมีปริมาณฟีโนลิกและแอนโธไซยานินรวมเท่ากับ 2.81?0.88 g%GAEและ 15.79 ? 2.09 g%C-3-GE ตามลำดับ จากนั้นศึกษาลักษณะทางพฤกษเคมีของสารสกัดผลมะเม่าทั้งหมดโดยวิธีการทางโครมาโทกราฟีผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารสำคัญในผลมะเม่าหรือฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องของผลมะเม่าและรวมทั้งการประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และเครื่องสำอางต่อไปในอนาคต
abstract:
Antidesma ghaesembilla or mamao is a plant in Euphorbiaceae family, this plant has reddish purple fruits that contain high amount of anthocyanin. The fruits of mamao are developed for many nutritional purposes such as wine, jam, and fruit juice. The aim of this special project was to study the free radical scavenging activity of the extracts from mature A. ghaesembilla fruits (purple fruits) prepared by various methods of extraction including fresh squeezing, water decoction, and macerations with various organic solvents such as acetone, ethanol and methanol. The extracts were analyzed using 1, 1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay. Total phenolic and total anthocyanin contents were evaluated by spectrophotometric methods. From the results, decoction extract exhibited the highest free radical scavenging activity (IC50 =91.62 ? 4.74 ?g/ml). However, the fresh squeezing extract showed the highest total phenolic and total anthocyanin contents of 2.63?1.02 g gallic acid equivalent in 100g extract (%GAE) and 61.51 ? 0.95 g cyaniding-3-glucoside equivalent in 100 g extract (g%C-3-GE), respectively. After that, free radical scavenging activityand main phytochemical contents of immature A. ghaesembilla fruits (red fruits) were studied. Free radical scavenging activity of the extract from the red fruits was higher than that from extract of purple fruits (IC50 =72.42 ? 3.52 ?g/ml), while total phenolic and total anthocyanin contents were 2.81?0.88 g%GAE and 15.79 ? 2.09 g%C-3-GE, respectively. Finally, phytochemistry of A. ghaesembilla fruit extracts was analyzed using chromatographic techniques. The results of this study will be the guideline for the researches in phytochemistry and related biological activities of A. ghaesembilla fruits and including medical and pharmaceutical applications such as developments of dietary supplement, medicines and cosmetics in the future.
.