การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและระบบสรีรวิทยาของการแพทย์แผนตะวันออกเพื่อการแพทย์ผสมผสาน : ระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง

โดย: น.ส.ชนกานต์ สุตัณฑวิบูลย์, น.ส.ศุภัชญา โสทรทวีพงศ์    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 37

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ,    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: การแพทย์แผนไทย, องค์รวม, กรีสัง, Thai Traditional Medicine, Wholistic, Kreesung
บทคัดย่อ:
เนื่องจากในปัจจุบันนี้การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน รักษาโดยมองความผิดปกติของร่างกายแยกออกเป็นส่วนๆ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้บางโรคเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังพบว่ามีโรคอีกหลายโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง เอดส์ เป็นต้น ในทางกลับกันแพทย์แผนตะวันนออกนั้นมองการเจ็บป่วยของมนุษย์เป็นองค์รวม ถึงแม้ว่าแนวทางในการรักษา รวมถึงตำรับยาที่ใช้จะไม่มีการศึกษาทำการทดลองทางคลินิกเหมือนในแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ได้มีการนำมารักษาแล้วเป็นเวลานานถึงพันปีในผู้ป่วยหลายรายทั่วโลก สามารถรักษาโรคที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาให้หายขาดไม่ได้ด้วย และระบบทางเดินอาหารส่วนล่างเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งมีโรคเรื้อรังที่เกิดจากระบบนี้ยังไม่รักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคท้องผูก ริดสีดวงทวาร เป็นต้น โดยในการศึกษา แพทย์แผนตะวันออก ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์สุรพรรณ ศิริธรรมวานิช แพทย์แผนไทยผู้มีประสบการณ์ทางคลินิกมากกว่า 30 ปี ประกอบกับการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงให้เป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ จากการรวบรวมข้อมูลทำให้ได้แนวคิดของระบบการรักษาแบบการแพทย์ตะวันออก ซึ่งตรวจโรคโดยอาศัยการสอบถามอาการ สังเกตสภาวะผู้ป่วย ตรวจชีพจร และวินิจฉัยสาเหตุแห่งโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนตะวันออกโดยอาศัยหลักการธาตุรูปสมุฏฐาน,อายุสมุฏฐาน, ฤดูสมุฏฐาน, กาละสมุฏฐาน มหาภูตรูป และระบบพลังปราณจักระ เมื่อพบสาเหตุของความผิดปกติหรือการเกิดโรคได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการตั้งตำรับยาอันประกอบด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิด หลักในการเลือกใช้สมุนไพรมาตั้งตำรับยานั้นจำเป็นต้องทราบถึงสรรพคุณและคุณสมบัติของตัวยาสมุนไพรด้วย จากการศึกษาพบว่าการใช้การรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันออกในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่ทางเดินอาหารส่วนล่างมีแนวทางรักษาที่น่าจะสมารถทำให้หายขาดจากโรคได้ เนื่องจากเป็นการรักษาแบบองค์รวมคือ เป็นการรักษาทุกๆระบบที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกตินั้น แต่การรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันออกนั้นต้องใช้เวลาในการรักษาเพราะต้องปรับสมดุลในหลายระบบของร่างกาย ดังนั้นในตอนแรกของการรักษา เราควรใช้การรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เนื่องจากฤทธิ์ของยาที่ไประงับอาการได้ค่อนข้างเร็ว จากนั้นจึงใช้การแพทย์แผนตะวันออกรักษาและปรับสมดุลในหลายระบบของร่างกาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสามารถนำแพทย์ทั้ง 2 ระบบมาใช้ผสมผสานกันในการรักษา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยสูงสุด
abstract:
-
.