การรวบรวมข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ CLA ในการใช้ควบคุมน้ำหนักตัว

โดย: ไพริน พอดี, สุดใจ วงษ์ประดับไชย    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 36

อาจารย์ที่ปรึกษา: ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว 2 ตำแหน่งที่ประกอบด้วยคาร์บอน 18 อะตอม, ลดความอ้วน, น้ำหนักลดลง, conjugated linoleic acid, antiobesity, weight loss
บทคัดย่อ:
ภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดในสมองผิดปกติ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว 2 ตำแหน่ง ที่ประกอบด้วยคาร์บอน 18 อะตอม (CLA) เป็นสารตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และมีการ วางขายในรูปอาหารเสริมมากมายเนื่องมาจากสรรพคุณที่อ้างว่าสามารถลดมวลไขมันและเพิ่ม มวลกายที่ปราศจากไขมัน จึงนำมาใช้ในการลดน้ำหนักและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ผลส่วนใหญ่เกิด จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยพบว่ากลไกการทำงานของ CLA เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการ แบ่งตัวของเซลล์ที่จะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันและการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเซลล์ไขมันให้เจริญ เป็นเซลล์ไขมันที่ทำ หน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังมีผลลดการสังเคราะห์กรดไขมันและ ไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย การสลายไขมัน และเร่งปฏิกิริยาการสลายกรด ไขมัน แม้จะมีหลักฐานในสัตว์ที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของ CLA แต่ข้อมูลทางวิชาการที่ ทำการศึกษาในคนมีเพียงเล็กน้อย จึงเป็นการยากที่จะคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้น โดยผลการศึกษาใน คนพอสรุปได้คร่าว ๆ ว่าในผู้ที่มีดัชนีมวลกายมีค่าเท่ากับ 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เมื่อได้รับ CLA ขนาด 3.4 กรัมต่อวัน สามารถลดน้ำหนักตัว มวลไขมันในร่างกายลงได้ และเพิ่มมวลกายที่ ปราศจากไขมัน แม้ในการศึกษาทดลองจะไม่มีความแตกต่างเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระยะเวลาที่ทำการศึกษายาวนานที่สุดคือ 12 เดือน ฉะนั้นผลของ CLA ในระยะยาวกว่านั้นยัง ไม่ทราบแน่ชัด จากการทดลองดังกล่าว การได้รับ CLA ขนาด 3.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี พบว่า ไม่มีผลในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหรือน้ำหนักไขมันในคนสุขภาพดีแต่มีน้ำหนักตัว เกินมาตรฐาน ดังนั้นการใช้ CLA อาจได้ประโยชน์ไม่มากเท่าที่มีการอ้างถึงและอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะดื้อต่ออินสุลิน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มเติม
abstract:
Obesity increases the risk of several chronic diseases including diabetes, coronary heart disease, hypertension, and stroke. The conjugated linoleic acid (CLA) is attracting interest because of its purported effects on body composition, especially a reduction in body fat mass and an increase in lean body mass, numerous health food shelves sell CLA supplements or CLA-containing products as weight loss or ergogenic aids. Because research on CLA has been almost exclusively in animals and the mechanisms by which CLA include decreased preadipocyte proliferation and differentiation into mature adipocytes, decreased fatty acid and triglyceride synthesis, and increased energy expenditure, lipolysis, and fatty acid oxidation. Although there is evidence that CLA exerts positive health effects in animals, there is little scientific information on its effects in human beings, making it difficult to predict the long-term effects of CLA supplementation. In less than 1 year period, 3.4 g/d of CLA reduced body weight, body fat mass and increased lean body mass when administered to men and women with body mass index (BMI: in kg/m2) 25-30. However, CLA treatment with different time period but less than 12 months did not showed any significant different result. The longest period of study is 12 months. In contrast, a 3.4 g daily dose of CLA supplementation for 1 year did not prevent weight or fat mass regain in healthy obese population. Therefore, to use supplemental CLA may not contribute any health benefit as its purport and may increase the risk of the cardiovascular disease, insulin resistance, etc. More data are needed to support its efficacy and safety.
.