ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะไตวายจากยา

โดย: อัศวิน ศรีวิไลเจริญ,ศุภวรรณ สุรเมธีกุล    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 36

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ปัจจัยเสี่ยง, aminoglycosides, ความเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยากลุ่ม aminoglycosides, Risk factors, aminoglycosides, aminoglycosides induced nephrotoxicity
บทคัดย่อ:
ยาในกลุ่ม aminoglycosides เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ใช้ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่จึงใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแกรมลบหลายชนิด อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่มี therapeutic index ต่ำและมีรายงานความเป็นพิษต่อไตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ยา กลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะไตวายสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลสูงต่อการเกิดภาวะไตวายจากการใช้ยากลุ่ม aminoglycosides ในผู้ป่วยของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจทำการเก็บ ข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม aminoglycosides ในช่วงเดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนสิงหาคม 2543 จำนวน 34 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มที่หนึ่งเกิดภาวะไตวายจากการใช้ยากลุ่ม aminoglycosides จำนวนทั้งสิ้น 14 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ไม่เกิดภาวะไตวายจากการใช้ยากลุ่ม aminoglycosides จำนวน 20 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะไตวายจากผู้ป่วยทั้งสอง กลุ่ม โดยแบ่งปัจจัยเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ คือ ปัจจัยเสี่ยงสูง ปัจจัยเสี่ยงปานกลาง และปัจจัยเสี่ยงต่ำ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยในปัจจัยเสี่ยงสูง, ปัจจัยเสี่ยงปานกลาง และปัจจัยเสี่ยงต่ำ เท่ากับ 15.3, 3.1 และ 1 ตามลำดับ และผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 มีคะแนนในปัจจัยเสี่ยงสูง, ปัจจัยเสี่ยงปานกลาง และปัจจัยเสี่ยงต่ำ เท่ากับ 8.1, 0.95 และ 1 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยการทดสอบแบบ Mann - Whitney U test พบว่าปัจจัยเสี่ยงสูงและปัจจัยเสี่ยงปานกลางมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ อายุ ภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะตับเรื้อรัง ภาวะขาดน้ำ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ septic shock ชนิดของยา aminoglycosides ที่เลือกใช้ วิธีการให้ยา ระยะเวลาการใช้ยา เพศ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ และการได้รับยาอื่นที่มีพิษต่อไตร่วมกัน เช่น vancomycin, amphotericin B, NSAIDs, cephalosporin และ furosemide เป็นต้น ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม aminoglycosides และมีปัจจัยเสี่ยงสูงและ/หรือปานกลางต่อภาวะไตวาย มีแนวโน้มจะเกิดภาวะไตวายมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงสูงและ/หรือปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
abstract:
Aminoglycosides are antibiotic agents that exhibit broad - spectrum bactericidal activity against gram - negative pathogens. However,they exhibit low therapeutic index and yield a significant amount of reports of nephrotoxicity, especially in patients who have high risk factor of drug induced nephrotoxicity.The objective of this study was to identify high risk factors associated aminoglycosides - induced nephrotoxicity in patients at Bumrungrad hospital. This is a retrospective survey study performed by collecting data from patient ‘ s chart between January 2000 to August 2000. There were 34 patients included in the study which were divided into two groups. First group was 14 patients who had nephrotoxicity after treatment of aminoglycosides. The second group was 20 patients who had not developed nephrotoxicity after aminoglycosides course. We collected risk factor of nephrotoxicity in both groups and divided the risk factor in to 3 groups; high risk factor, moderate risk factor and low risk factor. The study showed that patients in group 1 had high, moderate, and low risk score of 15.3, 3.1, 1, respectively while patient in group 2 had high, moderate, and low risk score of 8.1, 0.95, 1, respectively. The statistical analysis by Mann - Whitney U test has shown statistically significant difference between high risk and moderate risk scores between both groups. The major risk factor of acute renal failure was age, pre-existing renal disease, pre-existing liver disease, volume depletion, hypokalemia, hypotension, septic shock, type of aminoglycosides, administration of use, duration of treatment, gender, hypomagnesemia and concomittantly use of other nephrotoxic drug eg. vancomycin, amphotericin B, NSAIDs, cephalosporin and furosemide etc. In conclusion, patients who develop aminoglycosides induced nephrotoxicity have statistically significant difference in high and/or moderate risk scores than the ones who don’t develop aminoglycosides induced nephrotoxicity.
.