ผลของการได้รับยาควิโนโลนต่อการดื้อยา คาร์บาพีเนมของเชื้อ ซูโดโมนาส แอรูจิโนสาซึ่งเพาะเชื้อจากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลศิริราช

โดย: พิภัทรา รอดวรรณะ,ยศปริญญา เมืองพรหม    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 35

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ซูโดโมนาส แอรูจิโนสา, การดื้อยา, ควิโนโลน, อิมิพีเนม, มีโรพีเนม, Pseudomonas aeruginosa, resistance, quinolones, imipenem, meropenem
บทคัดย่อ:
ยากลุ่ม quinolones เป็นยาปฏิชีวนะที่ทำให้เกิดการดื้อยาแบบ efflux pump และการสูญเสีย OprD ในเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ได้ โดยกลไกการดื้อยาทั้งสองชนิดสามารถลดความไว ของเชื้อต่อยา imipenem และ meropenem ได้แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความ สัมพันธ์ของการใช้ยากลุ่ม quinolones ต่อการดื้อยา imipenem และ meropenem ของP. aeruginosa ซึ่งเพาะเชื้อจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อพบ P. aeruginosa ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 ถึง 30 มิถุนายน 2550 แล้วค้นหาผลการทำ sensitivitytest ของ P. aeruginosa ต่อยา quinolones, imipenem และ meropenem เพื่อหาอัตราการดื้อยากลุ่ม quinolones ของเชื้อ P. aeruginosa ที่ดื้อยา imipenem หรือ meropem จากนั้นค้นหาประวัติการใช้ยา quinolones ของผู้ป่วยเป็นเวลา 1 เดือนก่อนหน้าเพาะเชื้อพบ P.aeruginosa จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อพบ P. aeruginosa ที่ดื้อยา imipenem มีการดื้อยา quinolones ร่วมด้วยร้อยละ 64.13 และผู้ป่วยที่เพาะเชื้อพบ P.aeruginosa ที่ดื้อยา meropenem มีการดื้อยา quinolones ร่วมด้วยร้อยละ 73.03 และผู้ป่วยที่มีการใช้ยา quinolone ภายในระยะเวลา 1 เดือนก่อนหน้าเพาะเชื้อพบ P. aeruginosa จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการดื้อยา imipenem อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 2.38 ; 95%CI = 1.174-4.831 ; p =0.014) และเป็นปัจจัยเสี่ยงของการดื้อยา meropenem แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 1.96 ;95%CI = 0.938-4.080 ; p = 0.07) โดยสรุปพบว่าการใช้ยากลุ่ม quinolones จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการดื้อยา impenem ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติต่อการดื้อยาของmeropenem การวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรสาธารณสุขในการเลือกใช้ยาquinolones อย่างเหมาะสมต่อไป
abstract:
Quinolones are antibiotic agents that can cause drug resistant Pseudomonas aeruginosa by increase efflux pump and lossing OprD. Both mechanisms could differently decrease the sensitivity of the organism to imipenem and meropenem. Therefore, this study’s purpose was to determine the relationship between prior exposure of quinolones and the incidence of imipenem- or meropenem-resistant P. aeruginosa which were cultured from patients at Siriraj Hospital. The data were collected from patients who had positive cultures of P. aeruginosa from various specimens during 1st Jan to 30th June 2007. Firstly, we searched for the susceptibility test of P. aeruginosa to quinolones, imipenem, and meropenem. Secondly, we searched the information of the prior quinolones exposure during one month before positive cultures of P. aeruginosa. The result showed that imipenem-resistant P. aeruginosa resisted quinolones at 64.13% while meropenem-resistant P. aeruginosa resisted quinolones at 73.03%. In addition, the use of quinolones during one month prior to positive cultures of P. aeruginosa was a risk factor of imipenem-resistant P. aeruginosa. (OR = 2.38 ; 95%CI = 1.174-4.831 ; p = 0.014) and was a risk factor of meropenem-resistant P. aeruginosa. (OR = 1.96 ; 95%CI = 0.938-4.080 ; p = 0.07). In conclusion, the prior quinolones exposures during one month before positive cultures of P. aeruginosa were statistically significant related to imipenem resistance but wasn’t statistically significant related to meropenem resistance. Furthermore, this research can serve as a guideline for appropriate use of quinolones for healthcare professionals.__
.