ประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

โดย: จินดาภรณ์ ตปนียะกุล,ศิริลักษณ์ เลิศสุวรรณาวิน,อุมากร โฮ่สกุล    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 35

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , เฉลิมศรี ภุมมางกูร , นฤมล ธนะ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เซฟไตรอะโซน, การประเมินการใช้ยา, Ceftriaxone, Drug use evaluation
บทคัดย่อ:
การประเมินการใช้ยาเป็นบทบาทที่สำคัญของเภสัชกรในการประยุกต์หลักการบริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งเป็นแนวคิดใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เซฟไตรอะโซน เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเซฟฟะโรสปอรินรุ่นที่ 3 ซึ่งมีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้างทั้งเชื้อแกรมบวก แกรมลบ ตลอดจนเชื้อไม่พึ่งออกซิเจน ทำให้มีการใช้ยาเซฟไตรอะโซนอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามหากมีการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมไปถึงการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาเซฟไตรอะโซนในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยประเมินแบบย้อนหลังตั้งแต่เดือน เมษายน–พฤษภาคม 2543 และทำการประเมินเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในการใช้ยาเซฟไตรอะโซนที่กำหนดไว้โดยมีจำนวนผู้ป่วย 56 ราย ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยเด็ก (0–12 ปี) จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.71 และผู้ป่วยผู้ใหญ่ (12 ปีขึ้นไป) จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.29 ผลการศึกษาพบว่า มีความไม่เหมาะสมในการใช้ยาเซฟไตรอะโซนทั้งในผู้ป่วยเด็กและในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โดยในผู้ป่วยเด็กมีจำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.00 และในผู้ป่วยผู้ใหญ่มีจำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.33 ซึ่งความไม่เหมาะสมที่พบคือ การใช้ยาเซฟไตรอะโซนในข้อบ่งใช้ที่ไม่ได้มีกำหนดไว้ และระยะเวลาในการใช้ยาน้อยกว่าที่กำหนดไว้ และเมื่อประเมินผลการรักษาหลังจากการใช้ยา โดยพิจารณาจาก อุณหภูมิ, เม็ดเลือดขาว และการกำจัดเชื้อแบคทีเรียพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีไข้หลังการใช้ยา ส่วนเม็ดเลือดขาวและการกำจัดแบคทีเรียไม่สามารถนำมาประเมินผลการรักษาได้เนื่องจากไม่มีการสั่งตรวจหลังจากใช้ยาเซฟไตรอะโซน ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผลการรักษาที่ดีหลังการใช้ยาเซฟไตรอะโซน แต่เมื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้เซฟไตรอะโซนในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พบว่าส่วนหนึ่งยังเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลตามเกณฑ์มาตรฐานการใช้ยา และอาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดผลกระทบในการทำให้เชื้อดื้อยาเร็วขึ้นด้วย
abstract:
Drug use evaluation (DUE) is an important role of pharmacist in implementation of new concept of pharmaceutical care. This would contribute to quality of life of patients. Ceftriaxone is a beta-lactam antibiotic in the group called third generation cephalosporins which has broad spectrum activity. It is active against most gram-positive, gram-negative aerobic and anaerobic bacteria. However, inappropriate use of the medication may result in high expenditures in treatment course and spreading of resistant organisms. The purpose of this study was to retrospectively evaluate the rational use of ceftriaxone in Bumrungrad hospital during April-May 2000 by comparing with standard criteria for ceftriaxone utilization. There were 56 cases with 20 cases (35.71%) of pediatric patients (0-12 years ) and 36 cases (64.29%) of adult and adolescent patients (over 12 years). The results showed that the inappropriate drug use in pediatric patients was 18 cases (90.00%) and adult patients was 30 cases (83.33%). The majority of inappropriateness were indication and duration of drug therapy. Outcome of therapy in terms of temperature, white blood cell count (WBC) and bacterial eradication, showed that most patients became afebrile after ceftriaxone therapy. WBC normalization and bacterial eradication could not be evaluated because of no repeated test available. In conclusion, the result of this study indicated that although most patients have good outcome after ceftriaxone therapy, the use of ceftriaxone was not completely appropriate which may result in high expenditures in treatment course and spreading of resistant organism
.