การเตรียมยาเม็ดมาทริกซ์ออกฤทธิ์นานคาร์บาซีพินด้วยไคโตแซน

โดย: ปัทมาวดี ช้างเพชร,ปิยนุช อมรศุภศิริ    ปีการศึกษา: 2541    กลุ่มที่: 34

อาจารย์ที่ปรึกษา: สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: คาร์บามาซีพิน, ไคโตแซน,
บทคัดย่อ:
คาร์บามาซีพิน เป็นยารักษาโรคลมชักที่มีช่วงที่ให้ผลในการรักษาแคบ คือประมาณ 4-12 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จึงจำเป็นต้องควบคุมระดับยาให้อยู่ในระดับที่ให้ผลในการรักษา และมีความปลอดภัยในการใช้ยา ในการศึกษานี้จึงสนใจพัฒนาตำรับยาให้อยู่ในรูปของยาเม็ดออกฤทธิ์นาน โดยเตรียมแกรนูลมาทริกซ์ของยาคาร์บามาซีพินด้วยวิธีเตรียมแกรนูลเปียกด้วยไคโตแซนที่ความเข้มข้น 0%, 0.5% และ1% และใช้ malic acid, citric acid และ acetic acid เป็นตัวทำละลาย จากนั้นนำแกรนูลมาทริกซ์ที่เตรียมได้มาตั้งตำรับตอกเป็นยาเม็ด ผลการประเมินคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ด้วย differential scanning calorimetry, powder X-ray diffractometry และ infrared spectrascopy พบว่า กระบวนการเตรียมแกรนูลเปียกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพหสัณฐานของยาคาร์บามาซีพิน และผลการทดสอบการละลาย พบว่า การปลดปล่อยตัวยาลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของไคโตแซน และชนิดของกรดไม่มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยามากนัก เมื่อทดสอบการปลดปล่อยยาเปรียบเทียบกับ Tegretol® CR พบว่า ตำรับยาที่ประกอบด้วยไคโตแซนปลดปล่อยยาออกมาในอัตราและปริมาณที่น้อยกว่า Tegretol® CR แสดงให้เห็นว่าไคโตแซนสามารถลดการปลดปล่อยยา และใช้ในการเตรียมยาเม็ดมาทริกซ์ออกฤทธิ์นานได้
abstract:
Carbamazepine is an epileptic drug with narrow therapeutic index. It is necessary to control drug concentration in blood within therapeutic range to obtain fruitful treatment. Thus this study ceimed to develop carbamazepine sustained release tablet. Carbamazepine matrix granules were granulated with 0%, 0.5% and 1% chitosan solution in malic acid, citric acid and acetic acid. The carbamazepine matrix granules were then formulated and compressed to tablet. Physicochemical characteristics studied by differential scanning calorimetry, powder X-ray diffractometry and infrared spectroscopy indicated that wet granulation process caused polymorphic change of carbamazepine. Dissolution study revealed that drug release rate decreased with increased chitosan concentration and type of acid did not affect drug release significantly. Compared to Tegretol® CR, it was found that carbamazepine tablets containing chitosan released drug at lower rate and extent than Tegretol® CR. It was demonstrated that chitosan could decrease drug release rate and could be used for sustained release matrix tablet preparation.
.