การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากโรคมะเร็ง |
โดย: ภรณ์ทิพย์ พงศ์พิพัฒน์ภักดี,วิรยา วิจิตรเนาวรัตน์ ปีการศึกษา: 2550 กลุ่มที่: 33 อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์ , จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคมะเร็ง, Pharmaceutical care, Patients with cancer pain |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาของอาการปวดในผู้ป่วย โรคมะเร็งเพื่อเลือกใช้ยาและวิเคราะห์การใช้ยาในการรักษาอาการปวดและติดตามผลการรักษา เพื่อให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วย รวมทั้งศึกษาอาการและการใช้ยาจากข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ตามนัดในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2550 ที่หน่วยระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช จากการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากโรคมะเร็ง 20 ราย ได้รับการ วินิจฉัยว่ามีอาการปวดประเภทต่างๆ ได้แก่ nociceptive pain 9 ราย, neuropathic pain 5 ราย และnociceptive pain ร่วมกับneuropathicpain 6 ราย ตรวจพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 39ครั้ง พบปัญหาจากการใช้ยามากที่สุดคือ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 20 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยเกิดอาการ delirium จากการใช้ยา morphine รองลงมาคือ ยาที่ได้รับไม่เหมาะสม 6 ครั้ง เช่น แพทย์สั่งใช้ยา etoricoxib ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากมะเร็งและมีประวัติเป็น myocardial infraction และขนาดยาที่ได้รับไม่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย 3 ครั้ง เช่น ขนาดยา morphine ที่ได้รับไม่สามารถระงับอาการปวดได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วย 5 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยรับประทานยาKapanol® เป็น rescue drug และ ปัญหาที่ได้ปรึกษาแพทย์มีทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยแพทย์ผู้ทำการรักษารับฟังและแก้ไขตามที่เภสัชกรรายงานทุกครั้ง ปัญหาการใช้ยาที่ได้อธิบายต่อผู้ป่วยมีทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยผู้ป่วยรับฟังและแก้ไขตามที่เภสัชกรรายงานทุกครั้งข้อมูลที่ได้จากโครงการพิเศษครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคมะเร็งต่อไปในอนาคต |
abstract: The objectives of this special project were to analyze causes of pain and drug use in patients with cancer pain and also to solve drug-related problems. The study was performed by interviewing patients, evaluating patients’ symptoms and reviewing drug use from medical records during July to September 2007 at pain clinic, Siriraj hospital. The pharmaceutical care was performed in 20 cancer pain cases. Of these cases, 9 were diagnosed of nociceptive pain, 5 cases of neuropathic pain and 6 cases of nociceptive pain with neuropathic pain. Thirty nine drug-related problems (DRP) were identified. The most common DRP was adverse drug reaction (20/39) e.g. delirium from morphine; improper drug use (6/39) e.g. etoricoxib in patient with cancer pain and myocardial infraction; 3 inappropriate dosage were detected e.g. lower dose of morphine to relieve pain. Moreover 5 miscellaneous problems e.g. Kapanol® used as rescue drug. Thirteen interventions had been consulted and accepted by the treating physician. Five interventions had been consulted and accepted by patients. The data from this study can be applied to develop a model of pharmaceutical care for patient with cancer pain in pain clinic in the future.__ |
. |