การศึกษาภูมิปัญญาของการใช้สมุนไพรป่าชายเลนและป่าชายหาด จังหวัดจันทบุรี

โดย: จินตนา ตั้งจิตต์สุนทร, ปองพล ทนุผล    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 31

อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: การศึกษาภูมิปัญญา, ป่าชายเลน, ป่าชายหาด, สมุนไพร, จังหวัดจันทบุรี, Ethnobotany, mangrove forest, beach forest, medicinal plants, Chanthaburi province
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในป่าชายเลนและป่าชายหาด โดยได้ทำการศึกษา ณ สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ท่าสอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์แพทย์พื้นบ้านถึงรายละเอียดของสมุนไพรที่ใช้ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างพืชสมุนไพร พิสูจน์ชนิดของพืชสมุนไพรโดยการเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชอ้างอิงจากพิพิธภัณฑ์พืช 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร กรมวิชาการเกษตร (BK) และพิพิธภัณฑ์พืชภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (PBM) และสืบค้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรดังกล่าว ผลจากการศึกษาพบว่า ตัวอย่างพืชที่เป็นพืชพื้นเมืองในป่าชายเลนและป่าชายหาดที่หมอพื้นเมืองใช้เป็นยารักษาโรคมีจำนวน 64 ชนิด จาก 40 วงศ์ แบ่งออกได้เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 59 ชนิด (35 วงศ์) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 4 ชนิด (4 วงศ์) และเฟิร์น 1 ชนิด (1 วงศ์) โดยทำการสรุปผลเรียงชื่อวงศ์และชื่อสกุลตามตัวอักษร และจำแนกพืชตัวอย่างตามสรรพคุณอ้างอิงจากภูมิปัญญาพบว่า สรรพคุณของพืชที่มีการใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเรียงตามจำนวนของพืชสมุนไพรได้ดังนี้ พืชที่รักษาอาการไข้ พบ 11 ชนิด รักษาฝี 7 ชนิด แก้พิษร้อน 5 ชนิด เป็นต้น และผลการสืบค้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรแต่ละชนิด พบว่ามีสมุนไพรหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาสนับสนุนภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของแพทย์พื้นบ้าน เช่น ต้นโพทะเล (Thespesia populnea) แพทย์พื้นบ้านนำมาใช้เป็นยาสมานแผล ฆ่าเชื้อในแผล มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนภูมิปัญญาคือ ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัด dichloromethane จากเนื้อไม้ (wood) และแก่นไม้ (dark heartwood) สามารถต้านเชื้อ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, และ Enterococcus faecalis และฤทธิ์ในการรักษาบาดแผลทั้งภายในและภายนอกในหนูทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
abstract:
The objective of the study is to collect information on ethnobotany of medicinal plants from mangrove and beach forests with supported scientific data. The study of medicinal plants belonging to mangrove and beach forests at Mangrove Forest Resources Development Station 2, Thason, Amphoe Khlung, Chanthaburi province, was conducted via interviewing, sampling, identifying, as well as comparing the plant specimens with referent specimens at two herbaria [the Bangkok herbarium (BK), and the Pharmaceutical Botany, Mahidol University Herbarium (PBM)], and literature survey of scientific data. As a result, 64 species belonging to 40 families were reported. They were classified as 59 dicots (35 families), 4 monocots (4 families) and one fern (1 family). The overall data was concluded by means of alphabetically arranging the family and genus names, and also by ethnobotany indications. Most of the plants were used for the treatment of the symptoms such as fever (11 species), abscesses (7 species), and internal heat (5 species). Literature search for each medicinal plants was scientifically investigated. As a result, many medicinal plants exhibited pharmacological effects based on ethnobotanical knowledge. For example, Thespesia populnea has an antiseptic effect for healing wound in accordance with scientific data. Dichloromethane extract of the wood and dark heartwood could inhibit bacteria growth against Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus and Enterococcus faecalis. The aqueous extract from the fruit showed significant wound-healing activity for both excision and incision wound in rats following topical and oral administration, respectively.
.