การประเมินการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่เสตรียรอยด์ชนิด selective cyclooxygenase-2 inhibitors สำหรับผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลราชวิถี |
โดย: กนก พลายบัว, กนกวรรณ โสภากิติบูรณ์ ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 31 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ซีลีค็อกสิบ, อีโทริค็อกสิบ, การประเมินการใช้ยา, Celecoxib, Etoricoxib, Drug use evaluation |
บทคัดย่อ: ยากลุ่ม COX-2 inhibitors เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาอาการปวดและการอักเสบโดยมี ผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารน้อยกว่ายาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ทั่วไป (conventional NSAIDs) ปัจจุบันยากลุ่มนี้ได้รับความนิยมในการใช้ทางคลินิกอย่างมากและเป็น ยาที่มีมูลค่าการใช้สูงติดอันดับต้น ๆ ในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การประเมิน ความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา โดยเน้นที่ความเสี่ยงของการเกิดอาการข้างเคียงในทางเดินอาหาร และระบบหัวใจและหลอดเลือด การศึกษานี้เป็นการประเมินการสั่งใช้ยาแบบย้อนหลัง ประชากรที่ ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ได้รับยากลุ่มดังกล่าว จาก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 ถึง มิถุนายน 2549 โดยสุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้จำนวน 300 คนมาใช้ในการประเมิน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 86.3) และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 63.89 ปี พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 29.3 มี ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงต่อทางเดินอาหารต่ำ และไม่มีความจำเป็นต้องได้รับยากลุ่ม COX-2 inhibitors ซึ่งหากเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่ม conventional NSAIDs จะทำให้ประหยัดค่า รักษาพยาบาล 39,783.54 - 227,792.85 บาท/ผู้ป่วย 100 คน/ปีขึ้นกับชนิดของยาที่จะใช้แทน นอกจากนี้พบว่า ร้อยละ 41.57 ของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงต่อทางเดิน อาหารต่ำยังได้รับยาป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงต่อทางเดินอาหารโดยไม่จำเป็น ซึ่งทำให้เพิ่ม ค่าใช้จ่ายด้านยาขึ้น 1,168 - 119,820.74 บาท/ผู้ป่วย 100 คน/ปีขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ ในด้านของ ความปลอดภัย ผู้ป่วยร้อยละ 13.33 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการข้างเคียงต่อหัวใจและหลอด เลือด แต่ยังได้รับยากลุ่ม COX-2 inhibitors ซึ่งอาจไม่เหมาะสม จากผลการวิจัยนี้ พบว่า การสั่งใช้ ยากลุ่ม COX-2 inhibitors ยังมีความไม่เหมาะสมอยู่ ซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาเพื่อ ประหยัดค่ารักษาพยาบาลและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาให้กับผู้ป่วย |
abstract: COX-2 inhibitors are newer nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) which are associated with less gastrointestinal side effects than conventional NSAIDs. Presently, these agents have gained considerable popularity among clinicians and are now ranked at the top of medication budget of many institutions. Therefore, the objective of this study was to perform a drug use evaluation (DUE) of these agents with the focus on gastrointestinal (GI) and cardiovascular (CV) risks. This was a retrospective study conducted at the Out-patient Department of the Rajavithi Hospital. Patients with the diagnosis of osteoarthritis and rheumatoid arthritis who received these drugs during June 2005 - June 2006 served as our pool population. Among this population, 300 patients were randomly selected and data were extracted and analyzed accordingly. Overall, the study population were mostly female (86.3%) with an average age of 63.89 years old. We found that 29.3% of these patients were considered at low risk for GI adverse events. If these patients were switched from COX-2 inhibitors to conventional NSAIDs, the estimate cost saving would range from 39,783.54 - 227,792.85 baht/100 patient-year depending on the choice of agents. In addition, 41.57% of patients with low GI risk were prescribed gastroprotective agents which may unnecessarily increase the cost of treatment in the range of 1,168 - 119,820.74 baht/100 patient-year, depending on the choice of agents. In terms of safety, 13.33% of patients receiving COX-2 inhibitors were at high CV risk. These results indicate that there may be a room for improvement both in terms of costsaving and safety aspects in the use of COX-2 inhibitors. |
. |