การเตรียมอนุภาคนาโน และการพัฒนาตำรับของสารสกัดไพลในรูปแบบเจล

โดย: น.ส.ภัทราภรณ์ สกุลทับ, น.ส.จิดาภา เอี่ยมธนากุล    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ไพล, อนุภาคนาโน, เจล, Zingiber montanum, nanoparticle, gel
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับเจลของสารสกัดไพล โดยทำให้สารสกัดไพล ซึ่งไม่ละลายน้ำให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของตำรับ การทดลองประกอบด้วย การเตรียมสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการหมัก (Maceration) แล้วระเหยแห้งภายใต้ความดันต่ำ การเตรียมสารแขวนลอยอนุภาคนาโน ด้วยเครื่อง Spinning Disk Processing และวัดขนาดอนุภาคด้วยเครื่อง Sub-Micron Particle Analyzer พบว่าที่ความเข้มข้นของสารสกัดไพล 5% w/v ในเอทิลแอลกอฮอล์ ความเร็วของ disk 1500 รอบต่อนาที อัตราเร็วในการฉีดสารละลายของสารสกัด 0.3 ml/sec และอัตราเร็วในการฉีดน้ำ 3 ml/sec พบว่าหลังจากระเหยตัวทำละลายเอทิลแอลกอฮอล์ออก ได้สารแขวนลอยของสารสกัดไพลเข้มข้น 0.44 %w/v และมีขนาดเท่ากับ 115.7 nm การศึกษาความคงตัวของสารแขวนลอยอนุภาคนาโนไพลที่มีอายุ 1 เดือน พบว่ามีขนาดอานุภาคเพิ่มขึ้นประมาณ 30 nm การตรวจหาปริมาณสารสำคัญด้วยวิธี TLC Densitometry โดยใช้ (±)-tran-3-(3,4-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-3,4-dimethoxy-styryl]cyclohex-1-ene ซึ่งเป็นสาระสำคัญในไพลที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีเป็นสารมาตรฐานเปรียบเทียบ พบว่าสารสกัดไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ที่ได้มีปริมาณสาระสำคัญ 17.69 %w/w การเตรียมเจลไพลโดยนำสารแขวนลอยอนุภาคนาโนไพลที่เตรียมได้มาเตรียมเป็นเจลโดยใช้สารก่อเจล 5 ชนิด ได้แก่ HPC, HPMC, MC, Carragenan และ Carbomer 940 แล้วทดสอบความคงตัวของตำรับเจลด้วยวิธี Freeze and thaw จำนวน 6 cycle พบว่าตำรับเจลไพลที่มีลักษณะทางกายภาพและความคงตัวดีที่สุด คือ ตำรับที่เตรียมโดยใช้สารก่อเจลเป็น 1% Carbomer 940 ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรได้รับการพัฒนาและนำไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป
abstract:
The purpose of this project is the development of the gel formulation of Zingiber montanum (Plai) extract which was prepared in nanosize particles due to its low solubility and improvement of the therapeutic efficacy. The project composed of the preparation of ethanol extract of Plai by maceration, the preparation of Plai extract nanoparticles by solvent displacement method using Spinning Disk Processing (SDP), and the preparation of Plai extract gel. The particle size was determined by Sub !Micron Particle Analyzer. The solution of 5% w/w Plai extract in ethanol was mixed with water onto the spinning disk of SDP at the injection rate of 0.3 ml/sec and 3 ml/sec, respectively, and the spinning disk rate of 1500 rpm to give a yellow dispersion. After removal the organic solvent by reduced pressure evaporation, led to Plai nanodispersion at the concentration 0.44% w/v and the particle size 115.7 nm. The study on the stability of the nanodispersions, found that the particle size tend to be increase after keeping for 1 month. Quantitative analysis of active compound in Plai extract was performed by TLC Densitometry using (±)-tran-3-(3,4-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-3,4-dimethoxy-styryl] cyclohex-1-ene, that showed anti-inflammatory activity, as reference standard. The result showed that crude ethanol extract of Plai contained 17.69 %w/w of (±)-tran-3- (3,4-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-3,4-dimethoxy-styryl]cyclohex-1-ene. The formulation and development of Plai gel were done by using the resulting Plai nanodispersion and five gelling agents, i.e. MC, Carragenan, HPC, HPMC and Carbomer 940. The stability of the gels were tested by Freeze and Thaw method for 6 cycle. The results indicated that the gel formations of 1% Carbomer 940 showed good physical properties and stability. Therefore, this formulation has much potential for further development.
.