การประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในผู้ป่วยเบาหวาน

โดย: ปราโมทย์ พึ่งวัฒนาพงศ์, พ้นภยันตร์ จันทร์ดิษฐ์    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 30

อาจารย์ที่ปรึกษา: เนติ สุขสมบูรณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เบาหวาน ความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โครงการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน, Diabetes Mellitus, Knowledge, Glycemic control, Diabetic educational program
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ที่จัดทำขึ้นเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโดย ใช้แบบทดสอบที่จัดทำขึ้น ในกลุ่มประชากรผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน วัดไผ่ตัน กรุงเทพมหานคร ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้จำนวน 63 คน แบ่งเป็นเพศชาย 12 คน (ร้อยละ 19) และเพศ หญิง 51 คน (ร้อยละ 81) ซึ่งมีอายุเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายโดยเฉลี่ย 26.52 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 50 คน (ร้อยละ 79.4) ประกอบอาชีพแม่บ้าน 26 คน (ร้อยละ 41.3) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปี 34 คน (ร้อยละ 54) และมีโรคร่วมกับโรคเบาหวาน 50 คน (ร้อยละ 79) โดยโรคความดันโลหิตสูงเป็น โรคร่วมที่พบมากที่สุดจำนวน 32 คน (ร้อยละ 50) จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (16-20 คะแนน) 23 คน (ร้อยละ 36.5) ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 9 คน (ร้อยละ 40.9) สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ (90-140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) รองลงมาผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับโรคอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก (21 คะแนนขึ้นไป) 21 คน (ร้อยละ 33.3) ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 12 คน (ร้อยละ 70.6) สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เคยเข้าร่วม โครงการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานจำนวน 6 คน (ร้อยละ 75) สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดได้ การวิจัยในครั้งนี้สรุปได้ว่า ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนวัดไผ่ตัน กรุงเทพมหานคร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับดี โดยระดับความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและประวัติการเข้าร่วมโครงการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมีผล ให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
abstract:
The objectives of this study were to evaluation of knowledge in patient with Diabetes Mellitus using the questionnaire. The study was conducted at Paiton Health Care Center, Bangkok during August 1, 2006 to September 30, 2006. The study included 63 patients with diabetes mellitus, there were 12 males (19%) and 51 females (81%) and there were no difference in the mean age. The average body-mass index was 26.52 kg/m2. In term of education, 50 persons (79.4%) went to primary school or lowers, 26 persons (41.3%) were house-wife, 34 persons (54%) had diabetes mellitus for more than 5 years. Fifty persons (79%) had comorbidity. Of these, thirty-two persons (50%) had hypertension which was the most comorbidity found. From the results, we found that 23 persons (36.5%) had a good level of the diabetic‘s knowledge (16-20 scores) in which 9 persons (40.9%) of those patients had good glycemic control (90-140 mg/dl), 21 persons (33.3%) had very good level of the diabetic’s knowledge (more than 20 scores) in which 12 persons (70.6%) of those patients had good glycemic control. In addition, 6 persons (75%) of patients who participated in diabetic educational program had good glycemic control. In conclusion, this study found that the patients with diabetes mellitus who attended clinic at Paiton Health Care Center, Bangkok had a good knowledge of diabetes mellitus. The level of the diabetic‘s knowledge and the history of participation in diabetic educational program affected to good glycemic control in patients with diabetes mellitus.
.