การศึกษาการละลายของยา orlistat เพื่อประเมินความเท่าเทียมกันของตำรับยา |
โดย: พิมพ์สุมน เจียมบุญศรี, พิมพิกา กาญจนดำเกิง ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 3 อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: การละลาย, Dissolution, ยา Orlistat, Solubility, Dissolution, Orlistat |
บทคัดย่อ: Orlistat เป็นยาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส ที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จึง นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคอ้วน ซึ่งยา Orlistat เป็นยาที่มีการดูดซึมน้อยมาก (Bioavailability < 1%) และเป็นยาที่ละลายน้ำได้น้อยมากในช่วง pHของร่างกาย โครงการพิเศษนี้จึงได้ทำการศึกษาการ ละลายของยา Orlistat เพื่อประเมินความเท่าเทียมกันของตำรับยาและใช้เป็นแนวทางใน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปลดปล่อยของยาที่เกิดขึ้นในร่างกายและที่เกิดขึ้นโดยการ ทดสอบภายนอกร่างกาย การทดสอบการละลายของยา Orlistat ในตัวทำละลายต่างๆ ซึ่งมีสาร ลดแรงตึงผิว ได้แก่ สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (pH 6.8) ซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว โซเดียมลอริล ซัลเฟต 1% , โซเดียมลอริลซัลเฟต 2% , ทวีน 20 1% และ ทวีน 20 2% พบว่า ยา Orlistat ละลาย ได้ดีที่สุดใน สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (pH 6.8) ซึ่งมีสารลดแรงตึงผิวโซเดียมลอริลซัลเฟต 2% จึงได้เลือกสารละลายนี้มาทำการทดสอบ Dissolution ของยา Orlistat สองตำรับ โดยใช้ USP dissolution apparatus I (basket) แล้ววัดปริมาณยาที่ละลายออกมาโดยวิธี HPLC ซึ่งใช้ VenusilTM AQ-C18 column ขนาด150 mm x 4.6 mm i.d. มีขนาดอนุภาค 5 μm ที่อัตราเร็ว 1.5 ml/ min และใช้ UV detector ที่ 205 nm เฟสเคลื่อนที่ประกอบด้วย acetronitrile และ 0.1%phosphoric acid ในอัตราส่วน 95 : 5 ปริมาตร/ปริมาตร ใช้เวลาในการวิเคราะห์ 10 นาที และ Orlistat เคลื่อนที่ออกมาที่เวลาประมาณ 5 นาที และใช้ similarity factor (f2) ,difference factor (f1) ทดสอบความแตกต่าง พบว่าการละลายของยา Orlistat ทั้งสองตำรับ ไม่มีความ แตกต่างกัน (f1 = 8.59 , f2 = 65.04 ) จากผลการทดลองนี้แสดงว่า ยา Orlistat ต่างตำรับให้ การละลายที่เหมือนกันในสารละลายโซเดียมลอริลซัลเฟต 2% ซึ่งเป็นสารละลายที่เหมาะสม เพื่อ ประเมินความเท่าเทียมกันของตำรับยาในหลอดทดลอง ข |
abstract: Orlistat is a antiobesity agent which inhibits the action of gastrointestinal lipases. The drug is absorbed to aminimal extent, with oral bioavailability <1% and it is a lipophilic substance with very low solubility in water within the physiological pH range.The objective of this special project was to study of orlistat solubility as a marker for pharmaceutical equivalence evaluation and using as the protocol for studying in vitro in vivo corelationships (IVIVCs). In the solubility experiment ,surfactant were added in phosphate buffer (1%SLS, 2%SLS, 1%Tween20 , 2%Tween20 ). Orlistat can be dissolved in 2%SLS more than others hence it was used as the medium in dissolution test . The USP dissolution apparatus I (basket) with HPLC method was used for obtaining dissolution profile. An isocratic separation was achieved using a Venusil™AQ-C18 ,150 mm x 4.6 mm i.d., 5μm particle size column with flow rate of 1.5 ml/min and using a UV detector to monitor the eluate at 205 nm. The mobile phase consisited of acetronitrile:0.1% phosphoric acid (95:5 ,v/v).Complete separation was archieved in run time of approximately 10 min with the drug eluting at approximately 5 min. The similarity factor (f2) and difference factor (f1) were used to test for similarity. The dissolution profile showed the similarity of two formulation of Orlistat (f1 = 8.59 , f2 =65.04 ). From this experiment , the 2%SLS in phosphate buffer (pH 6.8) was suitable medium of dissolution test for pharmaceutical equivalence evaluation. |
. |