การประเมินคุณภาพการควบคุมระดับ International Normalized Ratio (INR) ในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการ แข็งตัวของเลือด

โดย: ฏิรญา เทพสนองสุข ,พิชญา ดิลกพัฒนมงคล    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 29

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , อุษา ฉายเกล็ดแก้ว    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: warfarin , การประเมินคุณภาพ, การเข้าเป้า , Warfarin, INR , Anticoagulant control, INR variability
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบทบทวนแฟ้มประวัติย้อนหลังเพื่อประเมินคุณภาพการ ควบคุมระดับการต้านการแข็งตัวของเลือด และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา warfarin ในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation) และผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valve Replacement) กลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษาได้แก่ผู้ป่วยนอกที่ได้รับยา warfarin มาเป็นเวลา ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจากโรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลจันทบุรี โรงพยาบาลรามาธิบดีและ สถาบันโรคทรวงอกตามข้อบ่งใช้ข้างต้น ผู้ป่วยจำนวน 394 คนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกพบว่าอายุ เฉลี่ยเท่ากับ 57.08±13.69 ปี ได้รับยาด้วยข้อบ่งใช้ AF+MVR, MVR และ AF ร้อยละ 40.86, 24.87, 20.56 ตามลำดับ โรคร่วมที่พบบ่อยได้แก่ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 38.83) ไขมันในเลือด ผิดปกติ (ร้อยละ18.78) เบาหวาน (ร้อยละ11.42) ระยะเวลาการติดตามผู้ป่วยเฉลี่ยเท่ากับ 2.49±1.17 ปี ความถี่ของการติดตามระดับ INR ของผู้ป่วยอยู่ที่ 4.29±1.90 ครั้ง/ปี ค่าเฉลี่ยของ ระดับ INR เท่ากับ 2.15 (ช่วง 0.30-13.10) ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า อัตราการควบคุมระดับ INR ให้ได้ตามเป้าหมายเท่ากับร้อยละ 39.06 โดยร้อยละ 47.77 และ 13.17 ของค่า INR ต่ำกว่า และสูงกว่าเกณฑ์ตามลำดับ สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความแปรปรวนของระดับ INR ต่ำเท่ากับร้อยละ 14.97 เมื่อวิเคราะห์แยกและทำการเปรียบเทียบคุณภาพการควบคุมค่า INR ระหว่างโรงพยาบาล จังหวัดกับโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ พบว่า ทั้งอัตราการควบคุมระดับ INR ให้ได้ตามเป้าหมาย และสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความแปรปรวนของระดับ INR ต่ำ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p = 0.112 และ 0.389 ตามลำดับ) โดยเฉลี่ยอัตราการเกิดภาวะเลือดออกชนิดรุนแรงและ อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันเท่ากับ 5.04, 2.55 ครั้งต่อ100 ปีผู้ป่วย ตามลำดับ การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า คุณภาพการรักษาด้วยยา warfarin อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และความถี่ในการติดตามหา ค่า INR ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงควรมีมาตรการในการส่งเสริมให้มีการควบคุมระดับ INR ในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin ให้ดี ขึ้นเพื่อผลการรักษาที่ดีและหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา warfarin
abstract:
This study is a retrospective chart review to evaluate of quality in the control of International Normalized Ratio [INR] and the rates of haemorrhagic and thromboembolic complications among patients receiving warfarin therapy for either atrial fibrillation (AF) or mechanical valve replacement (MVR). The study population was outpatients from Lumpang Hospital, Prapoklao Hospital, Ramathibodi Hospital and Chest Disease Institute during June 2006 – May 2007 who received long term warfarin therapy for indications listed above. A total of 394 patients met the inclusion criteria. Mean age was 57.08±13.69 years old. Most common indications were AF+MVR, MVR and AF (40.86, 24.8 and 20.56%, respectively). Most common comorbidities are hypertension (38.83%), dyslipidemia (18.78%), diabetes (11.42%). The average follow-up time was 2.49±1.17 years. The mean frequency of INR testing was 4.29+1.90 /year. Mean INR was 2.15 (range 0.30-13.10). Overall, percentage of INR in target was 39.06% while 47.77% and 13.17% were below or exceed the target, respectively. The proportion of patients with low anticoagulation variability was 14.97%. There was no significant difference in quality of INR control among provincial hospitals versus tertiary care hospitals. Overall, the rates of major bleeding and thromboembolic complications were 13.45% and 6.09%, respectively. These results indicated that the quality of INR control in clinical practice was suboptimal. Testing frequency of INR was lower than recommended by international guidelines. This may lead to negative impact on long term complications. Therefore, measures to increase quality of INR control are warranted with the aim to improve long-term clinical outcomes for patient receiving warfarin therapy in Thailand.
.