โครงการตัวชี้วัดการใช้ยาในโรงพยาบาลรัฐบาลปี พ.ศ.2546 |
โดย: จุฑามาศ วุฒิกรสัมมากิจ, สินีนาถ ตั้งเจริญวัฒนา ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 28 อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข , บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ตัวชี้วัดการใช้ยา, ผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยเบาหวาน, ทบทวนการใช้ยา, Drug use indicator, outpatient, DM patient, Drug utilization review |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการใช้ยา (Drug utilization review) และทำตัวชี้วัดเชิงปริมาณจากฐานข้อมูลใบสั่งยาผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลรัฐบาลขนาด 260 เตียง ในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 (1 ต.ค. 44 ถึง 30 ก.ย. 46) ตัวชี้วัดต่างๆ คือ มูลค่ายาที่ใช้ทั้งหมด, มูลค่ายาเฉลี่ยต่อ 1 รายการ, มูลค่ายาเฉลี่ยและจำนวนรายการยาเฉลี่ยต่อผู้ป่วย 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft Access และ Microsoft Excel แสดงผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 มียาในบัญชีของโรงพยาบาลประมาณ 750 รายการ มีใบสั่งยาปีละกว่า 100,000 ใบ จากจำนวนผู้ป่วยนอก 37,683 และ 36,969 คน ตามลำดับ มูลค่ายาที่ใช้ทั้งหมดในปี 2546 เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 25.6 (จาก 19.73 เป็น 24.78 ล้านบาท) และมูลค่ายาเฉลี่ยต่อ 1 รายการเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 (จาก 64.06 เป็น 78.74 บาท) สำหรับยา 20 อันดับแรก (จาก 750 รายการ) ที่มีมูลค่าการใช้สูงสุดของทั้ง 2 ปีงบประมาณ คิดเป็นร้อยละ 33 ของมูลค่ายาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นยาชื่อการค้า และค่าเฉลี่ยมูลค่ายาต่อครั้งเพิ่มขึ้นจาก 105.93 เป็น 135.54 บาท (ร้อยละ 27.9) สำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีใบสั่งยา 6,435 ใบ ในปี 2546 จากผู้ป่วยจำนวน 1,103 คน แต่มีมูลค่ายาที่ใช้ทั้งหมด 4.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.92 ของมูลค่ายาทั้งหมดของผู้ป่วยนอก และมูลค่ายาเฉลี่ยต่อผู้ป่วย 1 คนต่อปี เท่ากับ 3,801.33 บาท เป็นมูลค่ายาต่อรายการ 141.59 บาท ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานใช้กลุ่มยาลดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมด 7 ชนิด รวมมูลค่า 1.43 ล้านบาท เป็นร้อยละ 34.21 ของมูลค่ายาทั้งหมดในคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษานี้แสดงให้เห็นแนวโน้มของค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มขึ้น จากยาชื่อการค้าที่มีราคาสูงและจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มักมีค่าใช้จ่ายด้านยาสูง สามารถนำข้อมูลตัวชี้วัดดังกล่าวมาใช้จัดการระบบยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ป่วย พร้อมทั้งช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้ยามากเกินความจำเป็นและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งของผู้ป่วยและของประเทศ ช |
abstract: The objective of this study is to do drug utilization review in and to determine quantitative drug use indicators using outpatient prescription database a 260 bed government hospital in fiscal year 2002-2003 (1 October 2001 to 30 September 2003). Indicators are: total drug expenditures, average drug expenditures per item, average annual drug expenditures and average drug item per patient, etc. Microsoft Access and Excel programs are used for data analysis. Results are shown as descriptive statistics, the percentage and average. Results show that in 2002 and 2003, there were about 750 drug items in the hospital formulary and more than 100,000 annual prescriptions from 37,683 and 36,969 outpatients respectively. Total drug expenditures in 2003 increased 25.6% (from 19.73 to 24.78 million bahts). Average drug expenditures per item increased 22.9% (from 64.06 to 78.74 bahts). Among the 750 items, the top 20 with highest expenditures for both year accounted for 33% of total expenditures. Most of these drugs are the original brands with an average expenditures per item increased from 105.93 to 135.54 bahts. In 2003, the 1,103 DM patients had 6,435 prescriptions and total drug expenditures of 4.19 million bahts (16.92% of total outpatient drug expenditures). Average drug expenditures per patient per year were 3,801.33 baht and average drug expenditures per item was 141.59 baht. There were 7 hypoglycemic drugs accounted for 34.21% of total DM drug expenditures (1.43 million bahts). In summary, hospital drug expenditures tend to increase due to brand name drugs and drug use by patients with chronic diseases. These indicators can be used for management to improve utilization efficiency and reduce drug costs as well as to reduce drug waste from irrational use. |
. |