การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิด rhabdomyolysis จากยากลุ่ม HMG-Co A reductase inhibitors ในผู้ป่วยไทย |
โดย: กฤษฎ์สิชล กาญจนวิศิษฐ์, วรัตม์ หงส์เทียมจันทร์ ปีการศึกษา: 2548 กลุ่มที่: 28 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: Rhabdomyolysis, Statins, Risk factor, Rhabdomyolysis, Statins, Risk factor |
บทคัดย่อ: Rhabdomyolysis เป็นอาการข้างเคียงของยากลุ่ม statins ที่พบได้น้อยแต่อาจอันตรายถึงชีวิต การศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ทำในชาวตะวันตก ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เกิด rhabdomyolysis เพื่อข้อมูลที่ได้อาจเป็นประโยชน์ในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิด rhabdomyolysis จากการใช้ยากลุ่มstatinsในผู้ป่วยไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังซึ่งทำในโรงพยาบาล 7 แห่งในประเทศไทย การค้นหาผู้ป่วย rhabdomyolysis ทำโดยการใช้ ICD-10 การยืนยันผลใช้เกณฑ์การวินิจฉัย rhabdomyolysis ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาผู้ป่วย 533 ราย พบว่ามีผู้ป่วย 23 ราย ที่เกิด rhabdomyolysis ตามเกณฑ์ของ ACC/AHA ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 62.7+12.8 ปี โรคร่วมที่พบส่วนใหญ่ คือ เบาหวาน(43%), renal insufficiency (39%) และgouty arthritis (26%) มีการใช้ยา simvastatin, atorvastatin และ pravastatin ในผู้ป่วย 20, 2, 1 รายตามลำดับ ขนาดยาเฉลี่ยเท่ากับ 24 มิลลิกรัมต่อวันของยาsimvastatin ยาที่ใช้ร่วมที่พบบ่อยได้แก่ gemfibrozil (34.78%),non-dihydropyridine calcium channel blockers (30.43%) colchicine (26.09%), cyclosporine (21.74%) และ มีผู้ป่วยเสียชีวิต 3 รายเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นซึ่งอาจเป็นผลจาก electrolyte imbalance จากภาวะ rhabdomyolysisและภาวะไตวายเฉียบพลัน ผลการศึกษานี้พบว่าลักษณะการเกิด rhabdomyolysis มีส่วนคล้ายและส่วนต่างกับรายงานจากประเทศตะวันตก สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่ำกว่า และมีโรคร่วมคือ gouty arthritis สิ่งที่น่าสนใจคือยา colchicine ซึ่งเป็นยาที่ทราบกันดีว่ามีความเป็นพิษต่อระบบกล้ามเนื้อแต่ยังไม่มีรายงานว่า ยาดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงในประชากรชาวตะวันตก ควรมีการศึกษาความแตกต่างนี้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการออกคำแนะนำในการสั่งจ่ายยากลุ่มนี้อย่างปลอดภัยในประชากรไทยต่อไป |
abstract: Rhabdomyolysis is a rare but life-threatening adverse events associated with the use of statins. Although risk factors for rhabdomyolysis have been well characterized in the Western population, such data on Thai population is still lacking. The objective of this study is to investigate the pattern of rhabdomyolysis in Thai population which may be used for risk factor identification.This retrospective analysis was conducted in 7 major teaching hospitals in Thailand. Among 533 potential cases, 23 cases met the ACC/AHA criteria for rhabomyolysis. The majority of cases were male with an average age of 62.7+12.8. Diabetes (43%), renal insufficiency (39%) and gouty arthritis (26%) were the most common comorbidities. Simvastatin, atorvastatin and pravastatin were used in 20, 2 and 1 cases, respectively. The mean simvastatin-equivalent dose prescribed in these cases was 24 mg/d. The most common concomitant drugs used statin -induced rhabdomyolysis cases were gemfibrozil (34.78%), colchicine (26.09%), cyclosporine (21.74%) and non-dihydropyridine calcium channel blockers (30.43%).Three patients died from cardiac arrest most likely due to electrolyte imbalance associated with rhabdomyolysis and acute renal failure. While some risk factors of rhabdomyolysis found in this study is similar to those reported from the Western studies, several differences do exist. These include lower mean age and gouty arthritis as comorbidity. Of interest, colchicines, an agent with well-described musculoskeletal toxicity, has never been identified as a risk factor in the Western population. These differences should be investigated further to improve safe prescribing of statins in Thai population. |
. |