ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นและพฤกษเคมีของดอกไม้กินได้

โดย: นายวาทิน พูลสวัสดิ์ , นายจีรวัฒน์ สวัสดิ์พิพัฒน์    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 25

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , ปิยนุช โรจน์สง่า    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, ดอกไม้กินได้, บรอคโคลี่, ดอกกะหล่า, ดอกกวางตุ้ง, ดอกมะขาม, หัวปลี, ดอกกุหลาบ, ดอกเข็ม, ดอกขจร, ดอกกุยช่าย, ดอกแค, ดอกสะเดา, ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม, ปริมาณฟีโนลิกรวม, พฤกษเคมี, Antioxidant, Edible flowers, Brassica pekinensis, Musa ABB cv. Kluai Namwa, Telosma minor, Rosa hybrida, Tamarindus indica, Brassica oleracea var. italica, Ixora chinensis, Brassica oleracea var. botrytis, Allium tuberosum, Sesbania grandiflora, Azadirac
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสารสกัดจากดอกไม้กินได้ทั้ง 11 ชนิด ได้แก่ บรอคโคลี่ , ดอกกะหล่า , ดอกกวางตุ้ง , ดอกมะขาม , หัวปลี , ดอกกุหลาบ , ดอกเข็ม , ดอกขจร , ดอกกุยช่าย , ดอกแค , ดอกสะเดา โดยทาการสกัด 2 วิธี ได้แก่ การหมักกับ 95% เอทานอล และ การ reflux ด้วยน้า ด้วยวิธี DPPH scavenging assay พบว่าที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดน้าของดอกมะขามแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นสูงสุด โดยมีการยับยั้งอนุมูลอิสระเท่ากับ 94.24  0.49 เปอร์เซ็นต์และพบว่าสารสกัดดอกไม้ตัวอย่างที่เตรียมโดยวิธี reflux ด้วยน้าแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้ดีกว่าสารสกัดส่วนใหญ่ที่หมักกับ 95% เอทานอล จากนั้นนาพืชที่แสดงฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงมาหาค่า IC5o ของการต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าสารสกัดที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ สารสกัดน้าของดอกกุหลาบ สารสกัดน้าของดอกสะเดา และสารสกัดเอทานอลของดอกกุหลาบ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 41.18 , 59.62 และ 84.15 ไมโครกรัมต่อมิลิลลิตร ตามลาดับ นอกจากนี้การวิเคราะห์ปริมาณฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัดตัวอย่างดอกไม้โดยใช้วิธี Folin – Ciocalteu และวิธี aluminium chloroide ตามลาดับ พบว่าสารสกัดน้าของดอกกุหลาบให้ปริมาณฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์ที่สูงที่สุด คือ 18.05  0.79 g% gallic acid equivalent (g% GAE) และ 2.48  0.27 g% quercetin equivalent (g% QE) ตามลาดับ การศึกษาลักษณะทางพฤกษเคมีของสารสกัดดอกไม้ตัวอย่างโดยใช้วิธี thin – layer chromatography (TLC) ตรวจสอบด้วยน้ายาพ่นเฉพาะ พบว่า สารสกัดดอกไม้แต่ละชนิดมีลักษณะทางโครมาโทกราฟีเฉพาะตัว โดยสารสกัดที่แสดงแถบสารที่ตรงกับสารกลุ่มฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์เด่นชัดมากที่สุด คือ สารสกัดจากดอกกุหลาบที่เตรียมโดยการสกัดทั้ง 2 วิธี สอดคล้องกับฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากดอกกุหลาบแสดงฤทธิ์ที่ดีในการต้านออกซิเดชั่นในหลอดทดลอง มีศักยภาพในการศึกษาเพิ่มเติมและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในทางอาหารต่อไปในอนาคต
abstract:
The study of antioxidant activity of extracts from 11 edible flowers; Brassica pekinensis , Musa ABB cv. Kluai ’Namwa’ , Telosma minor , Rosa hybrida , Tamarindus indica , Brassica oleracea var. italica , Ixora chinensis , Brassica oleracea var. botrytis , Allium tuberosum , Sesbania grandiflora , Azadirachta indica var. siamensis prepared by maceration with 95% ethanol and refluxing with water were conducted by DPPH scavenging assay. The result showed that at the concentration of 100 g/ml, tamarind flower aqueous extract promoted the highest antioxidant activity (94.24  0.49 % DPPH inhibitory effect). Most edible flower aqueous extracts exhibited higher antioxidant activities than 95% ethanol extracts. Then extracts that promoted high antioxidant activities were selected for investigations of IC50 values of DPPH inhibitions. It was found that rose flower aqueous extract, siamese neem tree flower aqueous extract and rose flower ethanol extractshowed the highest IC50 values of 41.18 , 59.62 and 84.15 g/ml, respectively. Moreover, determination of total phenolic and total flavonoid contents of all extracts by Folin – Ciocalteu and aluminium chloride methods, respectively showed that rose flower aqueous extract contained the highest total phenolic and total flavonoid contents (18.05  0.79 g% gallic acid equivalent (g% GAE) and 2.48  0.27 g% quercetin equivalent (g% QE) respectively). Phytochemical analysis of flower extracts by thin layer chromatography (TLC) with specific spraying reagent suggesting the specific phytochemical characteristic of each flower extract. Rose extracts prepared by both 2 extraction methods clearly showed band corresponding to phenolic and flavonoid compounds supported their antioxidant activities. The results suggested that the rose extracts promoted high in vitro antioxidant activities suggesting the potential for further studies and nutritional applications in the future.
.