การศึกษาส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากมะตูม(Aegle marmelos Correa)

โดย: กิตติยา เจริญกุล,ศรินยา โชติเกียรติคุณ    ปีการศึกษา: 2538    กลุ่มที่: 25

อาจารย์ที่ปรึกษา: อ้อมบุญ วัลลิสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
มะตูมเป็นไม้พื้นเมืองที่สำคัญชนิดหนึ่งของเมืองไทยและยังพบในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น มะตูมนับได้ว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายทั้งในด้านอาหารและยา นอกจากนี้มะตูมยังเป็นไม้พันธุ์หนึ่งที่อยู่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริ และเนื่องจากมะตูมมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดังนั้นจึงสมควรที่จะศึกษาสารหอมที่มีอยู่ในผลมะตูม แหล่งที่พบสารหอม คือ เนื้อและเปลือกผลมะตูม ในการทดลองนี้ใช้วิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยใช้ methanol และ chloroform เป็น solvent ในการสกัด สารสกัดที่ได้จะนำมาตรวจสอบด้วย TLC โดยใช้ solvent system ต่างๆ เช่น benzene ผสมกับ chloroform, toluene ผสมกับ ethyl acetate หรือ dichloromethane ผสมกับ methanol เป็นต้น บันทึกผลภายใต้ UV light จากนั้นจะ spray โดยใช้ anisaldehyde / H2SO4 และอบที่ 105 องศาเซลเซียส บันทึกผลด้วยตาเปล่าและภายใต้แสง UV light ที่ wavelength 254 และ 366 nm เปรียบเทียบการแยกของส่วนประกอบสารสกัด และคัดเลือก system ที่สามารถแยกส่วนประกอบได้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ในการประเมินคุณภาพของมะตูมต่อไป
abstract:
Bael fruit (Aegle marmelos L.) is an important tropical Thai fruit. The plant is also found in other countries such as India , Indonesia etc. It has several advantages in the area of food and medicine. Furthermore , this plant is also included in the Royal Project on Conservation of Biological Diversity. Bael fruit has characteristic aroma , therefore it is worth which to study the component of the aroma. The purpose of this special project is to study the components of the aroma from the fruit by using Thin layer chromatography (TLC). Aroma is found in extracted pulp and peel of fresh bael fruits. It was extracted from peel by shaking with methanol and chloroform respectively. The extract mixture was examined by TLC with various solvent mixture , for example , a mixture of benzene and chloroform , toluene and ethylacetate or dichloromethane and methanol.The spot which occured in TLC plate , was detected by anisaldehyde / H2SO4 spray reagent and heated at 100 degree for 5-10 minutes. The plate was then examined under UV light at wavelenght 254 and 366 nm. The system which best separated the components of the extract was chosen for qualitative evaluation of bael fruit extract.
.