ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นในปากจากน้ำมันจากน้ำมันหอมระเหย และ/หรือ สารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ป้องกันฟันผุ

โดย: มณีรัตน์ สุริยวงศ์พงศา, มทนา อิ่มคล้าย    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 24

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิมล ศรีศุข , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์ , นันทวัน บุณยะประภัศร , อารมณ์ พงษ์พันธุ์ , จินตกร คูวัฒนสุชาติ    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: โรคฟันผุ, สเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์, น้ำมันจากใบมะกรูด, dental caries, Streptococcus mutans
บทคัดย่อ:
Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคฟันผุ ทำการศึกษาพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นในปากชนิดใสเพื่อใช้ป้องกันฟันผุที่มีน้ำมันจากใบมะกรูด ( Kaffir lime leaf oil, Citrus hystrix DC ) ร้อยละ 4 โดยปริมาตร เป็นส่วนประกอบหลักในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย S.mutans นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังประกอบด้วย Polyoxyethylene 40 hydrogenated castor oil ร้อยละ 12 โดยปริมาตร ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวช่วยละลาย (solubilizing agent), 95% Ethanol ร้อยละ 20 โดยปริมาตร ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายร่วม (co-solvent), แต่งรสด้วย Acesulfame-K, Sorbitol และ Menthol จากการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย S.mutans โดยใช้วิธี Agar dilution พบว่า ผลิตภัณฑ์มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ความเข้มข้นน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยปริมาตรของตำรับ เมื่อประเมินทางประสาทสัมผัสโดยวิธี 9-point Hedonic Scale ในผู้ประเมิน 50 คน พบว่าผลิตภัณฑ์ได้รับคะแนนเฉลี่ย 6.54 ( “ ชอบเล็กน้อย ” ถึง “ ชอบปานกลาง ” )
abstract:
Streptococcus mutans is one of the bacteria that cause dental caries. The purpose of this study was to develop a clear oral spray from Kaffir lime leaf oil ( Citrus hystrix DC ) for the prevention of dental caries. The ingredients included Kaffir lime leaf oil ( 4%v/v ) as the active ingredient for the inhibition of the growth of S.mutans , Polyoxyethylene 40 hydrogenated castor oil ( 12%v/v ) as a surfactant and 95% Ethanol ( 20%v/v ) as a co-solvent. Acesulfame-K , sorbitol and menthol were used as flavorants. In the study of the antibacterial activity against S.mutans by agar dilution method , the oral spray inhibited the growth of S.mutans at the concentration of less than 5%v/v. Sensory evaluation, using 9-point Hedonic Scale method, was carried out among 50 panelists. The average score obtained was 6.54 (“ like slightly” to “ like moderately “).
.