การพัฒนาแชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชในตระกูล |
โดย: นส.ปาระฉัตร มหันต์เชิดชูวงศ์,นส.พัชรินทร์ วิจิตรเวียงรัตน์
ปีการศึกษา: 2546 กลุ่มที่: 24 อาจารย์ที่ปรึกษา: วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี Keyword: แชมพูสมุนไพร, ครีมนวดผมสมุนไพร, ปริมาณฟอง, ความคงตัว, Herbal shampoo, herbal conditioner, Foam volume, stability |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาการตั้งตำรับแชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรจากสมุนไพร 4 ชนิดคือ ว่านหางจระเข้, มะระขี้นก, อัญชัน, มะกรูด โดยการตั้งตำรับแชมพูพื้นจะเตรียมจากสารลดแรงตึงผิวประเภทต่างๆซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสารผสมในแต่ละตำรับ นอกจากนี้ยังมีครีมนวดผมที่ใช้ในการปรับสภาพผมหลังจากการใช้แชมพูซึ่งการตั้งตำรับครีมนวดผมจะเตรียมจากสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวกโดยจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสารด้วยและการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแชมพูพื้นได้แก่ ปริมาณฟอง, เวลาในการเปียกและความคงตัว ส่วนครีมนวดจะตรวจสอบจากความคงตัวของผลิตภัณฑ์ โดยจะคัดเลือกตำรับแชมพูและครีมนวดผมที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาพัฒนาเป็นแชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรซึ่งการคัดเลือกจะดูจากคุณสมบัติทางกายภาพ ลักษณะภายนอกและความคงตัวของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะนำไปทดสอบในอาสาสมัครในด้านเกี่ยวกับความพึงพอใจในด้านลักษณะภายนอก คือ สี กลิ่น ความหนืด ความพึงพอใจภายหลังการใช้ ปริมาณฟอง ความยากง่ายในการล้างออก โดยจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสมุนไพรที่จะผสมลงในแชมพูและครีมนวดผมพื้นด้วยโดยให้คะแนนตั้งแต่ 1-5 คะแนน (โดยจะเป็นควรปรับปรุง, ไม่ชอบ, เฉยๆ, ชอบ, ชอบมากที่สุด ตามลำดับ ) ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดสามารถเข้ากันได้กับแชมพูพื้นและครีมนวดผมโดยผลิตภัณฑ์มีความคงตัวที่ดี และผลการทดสอบในด้านความพึงพอใจของอาสาสมัครพบว่ามีความพึงพอใจต่อแชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรมากกว่าแชมพูและครีมนวดผมพื้นอย่างมีนัยสำคัญในทุกๆสมุนไพร โดยความพึงพอใจในแชมพูและครีมนวดพื้นเท่ากับ 1.1700 สมุนไพรว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้น 2%, 6%,10% มีค่า 2.9167, 3.3500, 3.2000 ตามลำดับ สมุนไพรมะระขี้นกที่ความเข้มข้น 2%, 6%, 10% มีค่า 3.0833, 3.0000, 3.1364 ตามลำดับ สมุนไพรมะกรูดที่ความเข้มข้น 1%, 3%, 5% มีค่า 2.9630, 2.9474, 2.9524 ตามลำดับ สมุนไพรอัญชันที่ความเข้มข้น 1%, 3%, 5% มีค่า 2.9615, 3.1923, 3.3043 ตามลำดับ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของสมุนไพรแต่ละชนิดมีผลต่อความแตกต่างด้านความพึงพอใจอย่างไม่มีนัยสำคัญ |
abstract: The goal of this project is to formulate herbal shampoo and conditioner individually containing aloe Vera, bitter cucumber, butterfly pea, and leech lime extracts by varying the contents of ingredients especially surfactants. The physical properties of shampoo base were evaluated for foam volume, wetting time, and stability, but conditioner base were evaluated only for its stability. The appropriate formulas were selected, mixed with herbal extract and determined for their physical and biological properties. The physical properties such as color, smell, viscosity, foam volume, comfortably washing, softness and shine feels on hair were the criteria for evaluation (score 1-5 represent hate, poor, moderate, like, the most like, respectively). The results showed that the herbal extract was compatible with shampoo and conditioner base. For the evaluation of satisfaction, the data significantly indicated that the volunteer preferred the herbal shampoo and conditioner more than only base formulas. For shampoo and conditioner with aloe Vera extract, the satisfaction values for the concentration of 2%, 6%, 10% were 2.9167, 3.3500, 3.2000, respectively compared to the only base formula with the satisfaction value of 1.1700. Likewise the satisfaction values for the concentration of 2%, 6%, 10% were 3.0833, 3.0000, and 3.1364, respectively for bitter cucumber shampoo and conditioner. For leech lime shampoo and conditioner and butterfly pea shampoo and conditioner at the same ranges of concentrations were 2.9630, 2.9474, and 2.9524, and 2.9615, 3.1923, and 3.3043, respectively. This data clearly showed that the satisfaction values were not affected by the concentration tested for each herbal extract. |
. |