การตรวจสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในนมแม่ที่เก็บที่คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

โดย: น.ส.ชนัญชิดา ปัญญาธนคุณ,น.ส.ชนัญญา สุขโสภณ    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์ , มัลลิกา ชมนาวัง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , อังสนา วงศ์ศิริ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: นมแม่, การปนเปื้อน, แบคทีเรีย, ยีสต์, Salmonella spp., Staphylococcus aureus, breast milk, contamination ,bacteria , yeast, Salmonellaspp., Staphylococcus aureus
บทคัดย่อ:
ในปี 2548 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นระยะเวลา 6 เดือน เนื่องจาก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคุณค่าทั้งต่อทารกและมารดา อย่างไรก็ตามสังคมปัจจุบันผู้หญิงออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น มารดาบางรายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องบีบน้ำนมเก็บไว้ใช้ภายหลัง แต่เนื่องจากน้ำนมแม่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในนมแม่ที่เก็บไว้ที่ระยะเวลานานแตกต่างกัน คือ 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน และ 6 เดือน โดยอ้างอิงจากเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (พ.ศ.2552) ซึ่งจากการตรวจสอบปริมาณแบคทีเรีย ยีสต์และราโดยรวม (Total count) พบว่าตัวอย่างนมแม่ทั้งหมด 100 ตัวอย่าง (จากผู้บริจาค 25 คน) มีปริมาณเชื้อแบคทีเรียผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 98 ตัวอย่าง (มีผู้บริจาครายเดียวเท่านั้นที่ปริมาณเชื้อไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่เวลา 2 สัปดาห์และ 1 เดือน) ทั้ง 100 ตัวอย่างนี้ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella spp. แต่พบเชื้อ Staphylococcus aureus จำนวน 6 ตัวอย่าง(จากผู้บริจาค 4คน)และพบว่ามี 17 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของยีสต์และรา
abstract:
In 2005, World health organization (WHO) recommended that mother should raise up her infant by breastfeeding for at least 6 months because breastfeeding gives many advantages for both mother and infant, nevertheless, many mothers are unable to breastfeed their infants so storing expressed frozen breast milk in sterile bags is a one of alternative choices for working mothers. This study was performed to estimate and to compare microbial contamination and screening for Salmonella spp. and Staphylococcus aureus of expressed breast milk stored in sterile bags for 2 weeks,1 month,3 months and 6 months (at lactation clinic, Buriram hospital), referring from standard criterion of the announcement from the Thai FDA (2012). Twenty-five samples at each period of time were collected and tested by total count method (drop plate) and screening for Salmonella spp. and S.aureus. It was found that out of 100 samples (from 25 donors), only 2 samples (from 1 donor) did not pass the criterion. Salmonella spp. contamination was not found in all samples. However, S.aureus contamination was found in 6 samples (from 4 donors) and there were 17 samples contaminated with yeast and mold.
.