ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้าน

โดย: บังอร วงศ์รักษ์, ศศิลักษณ์ ปิยะสุวรรณ์    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , สมใจ นครชัย , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , ยุวดี วงษ์กระจ่าง    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ผักพื้นบ้าน, ผักกูด, ผักติ้ว, ผักปลังขาว, ย่านาง, ผักเหมียง, ผักหวานบ้าน, free radical scavenger, Diplazium esculentum (Retz.) Swartz, Cratoxylum formosum (Jack)Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin, Basella alba L., Tiliacora triandra Diels., Gnetum gnemon L. ,Sauropus androgynus Merr.
บทคัดย่อ:
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้าน จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ผักกูด, ผักติ้ว, ผักปลังขาว, ย่านาง, ผักเหมียง และผักหวานบ้าน สกัดสารสำคัญจากผักแต่ละชนิดโดยการหมัก ด้วย methanol นาน 3 วัน แล้วนำไประเหยแห้งด้วยความร้อนที่ 60 องศาเซลเซียส นำสารสกัดที่ ได้มาแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ละลายในน้ำ และส่วนที่ไม่ละลายในน้ำซึ่งนำมาละลายกลับด้วย methanol ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักทั้ง 6 ชนิดด้วยวิธี DPPH assay โดย ผสมตัวอย่างที่ทดสอบกับสารละลาย 2,2–diphenyl–1–picrylhydrazyl (DPPH) แล้ววัดการ เปลี่ยนแปลงค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 515 nm เปรียบเทียบกับ control, วิตามินซี และ วิตามินอี (Trolox) ซึ่งเป็นสารมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากผักติ้วแสดงฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระมากที่สุด โดยสารสกัดส่วนที่ละลายในน้ำและส่วนที่ไม่ละลายในน้ำให้ค่า IC50 เท่ากับ 205.96 μg/ml และ 101.79 μg/ml ตามลำดับ รองลงมาคือ สารสกัดจากย่านาง ให้ค่า IC50 499.24 μg/ml (ส่วนที่ละลายในน้ำ) และ 772.63 μg/ml (ส่วนที่ไม่ละลายในน้ำ) สำหรับวิตามินซี และวิตามินอี ให้ค่า IC50 9.34 μg/ml และ 15.91 μg/ml ตามลำดับ ส่วนสารสกัดจากผักอีก 4 ชนิดมีค่า IC50 มากกว่า 1,000 μg/ml การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดผักติ้วมี hydrolysable tannin ส่วนสารสกัดย่านางมี phenolic compounds และได้จัดทำ TLC fingerprints เพื่อเปรียบเทียบสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
abstract:
The radical scavenging activity of Thai vegetables were determined by DPPH assay. Six kinds of vegetables including Diplazium esculentum (Retz.) Swartz, Cratoxylum formosum (Jack) Dyer ssp.Pruniflorum (Kurz.)Gogelin, Basella alba L., Tiliacora triandra Diels., Gnetum gnemon L. and Sauropus androgynus Merr. were selected. These vegetables were extracted by maceration in methanol for 3 days and then filtered. The filtrates were evaporated on water bath at 60 degree Celsius until dry. The dry extracts were dissolved in water, the soluble part (water soluble fraction) was separated, and the residue was redissolved in methanol (methanol fraction).Various concentrations of the extracts were mixed with 2, 2–diphenyl–1– picrylhydrazyl (DPPH), absorbance at 515 nm were measured by Novaspec II. Vitamin C and Trolox were used as reference standard. The results showed that Cratoxylum formosum (Jack) Dyer ssp.Pruniflorum (Kurz.) Gogelin extract possess the most potent properties, IC50 of water soluble fraction and water insoluble fraction were 205.96 μg/ml and 101.79 μg/ml, respectively. While IC50 of Tiliacora triandra Diels. water soluble fraction and water insoluble fraction were 499.79 μg/ml and 772.63 μg/ml, respectively. IC50 of vitamin C were 9.34 μg/ml whereas IC50 of Trolox 15.91 μg/ml. The chemical identification and TLC fingerprints of Cratoxylum formosum (Jack) Dyer ssp.Pruniflorum (Kurz.) Gogelin and Tiliacora triandra Diels. extracts were also performed.
.