การตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารโดยวิธีมัลติเพล็กซ์พีซีอาร |
โดย: จิราภรณ์ เหรียญทอง, นภสร จรุงธนาภิบาล3 ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 2 อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: multiplex PCR, food-borne pathogen, DNA polymerase, multiplex PCR, food-borne pathogen, DNA polymerase |
บทคัดย่อ: เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาได้บ่อยในระบบสาธารณสุขของไทย ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus และ Salmonella spp. อาจพบปนเปื้อนในอาหารทั่วไป เช่น ผัก เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ผลิตภัณฑ์จำพวกนมและอาหารปรุงสำเร็จบางชนิด หากรับประทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เกิดท้องร่วงรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารโดยวิธีมัลติเพล็กซ์พีซี อาร์ ซึ่งเป็นวิธีทดสอบที่มีความจำเพาะเจาะจงและให้ผลการตรวจสอบที่รวดเร็วมากขึ้นกว่าวิธีที่เคยมี ในอดีต การทำ PCR นั้นสามารถเจาะจงไปถึงยีนก่อโรคของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆได้ เช่น ยีน sea ของ เชื้อ S.aureus ยีน invA ของเชื้อ Salmonella หรือ ยีน nheA สำหรับ B. cereus เป็นต้น ซึ่งการที่ สามารถกำหนด sequence ของยีนในการทำ PCR นี้ทำให้การตรวจสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมี ความจำเพาะเจาะจงและมีความไวต่อเชื้อสูง จากการทดลองพบว่าการใช้วิธีมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์ ทดสอบกับเชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงขึ้นในหลอดทดลองให้ผลที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงและเป็นที่ น่าเชื่อถือ แต่เมื่อนำมาทดสอบกับตัวอย่างอาหารจริงโดยใช้ผักสดหลายๆชนิด พบว่า ผลการทดลองที่ ได้นั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจเนื่องจาก ผลการทดลองที่ได้ในแต่ละครั้งยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าสภาวะการตรวจสอบตัวอย่างอาหารจริงที่นำมาทดลองนั้นยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ต่อการนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ ซึ่งหากนำสภาวะการตรวจสอบนี้มาศึกษาปรับปรุง เพิ่มเติม ก็จะสามารถพัฒนาไปเป็นสภาวะมาตรฐานในการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารได้ ต่อไป |
abstract: Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, and Salmonella spp., the most common examples of food-borne pathogens, have frequently caused problems in the public health system of Thailand. They can be contaminated in common foods on a daily basis, for example; fresh vegetables, meat, eggs, dairy products, and some cooked foods. Consumption of such food could lead to various symptoms including food poisoning, stomachache, nausea, vomiting, and severe diarrhea. The objective of this study is to detect food-borne pathogens by using multiplex polymerase chain reaction (multiplex PCR). Multiplex PCR is a modern method which is more specific to the genetic level and requires less time to perform than the conventional method. These food-borne pathogens have their own toxic genes, such as sea for S. aureus, invA for Salmonella, or nheA for B. cereus. Once these gene sequences are specified, PCR method would be applied and yield high specific result with high sensitivity to each pathogen. According to the experiments, using multiplex PCR with pure culture bacteria yielded specific and credible results. However, with real food samples, such as various fresh vegetables, the results were still unsatisfactory due to slight error in each experiment. It is possible that the testing conditions for real food samples are still not good enough to provide a standard protocol for this detection method. If given more time to investigate these testing conditions, it is very likely that they could be developed into a standard protocol for food-borne pathogen detection. |
. |