การพัฒนาเอนไซม์ปาเปนชนิดเม็ดเคี้ยวจากมะละกอผง

โดย: นานา กนกวิลาวัณย์,นารี ถิรภัทรพันธ์    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 19

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เอ็นไซม์ปาเปน, ยาเม็ดเคี้ยว, ยาช่วยย่อย, มะละกอผง, Papain enzyme, Chewable tablets, digestive, Papaya power
บทคัดย่อ:
Papain เป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนได้ดีชนิดหนึ่ง พบมากในพืชวงศ์ Caricaeae นิยมใช้เป็นตัวยาสำคัญในยาช่วยย่อยเพื่อลดอาการท้องอืดในกระเพาะอาหาร ใน การตั้งตำรับยาเม็ดชนิดเคี้ยวได้เลือกใช้สารยึดเกาะ 3 ชนิดได้แก่ PVP K-90, Carbopol, และ HPMC และเลือกใช้สารเพิ่มปริมาณ 4 ชนิดคือ ผงมะละกอทำให้แห้งโดยการสเปรย์, icing sugar, mannitol, และ dextrose จากการทดลองพบว่า สูตรที่มีผงมะละกอเป็นสารเพิ่มปริมาณเพียงอย่างเดียวเม็ดยาที่ตอกได้จะมีความชื้นสูงมากกว่าสูตรที่มีสารเพิ่มปริมาณชนิดอื่นผสมอยู่ด้วย คือประมาณ 3.0-3.5% ส่วนยาเม็ดที่ใช้ mannitol และ dextrose เป็นสารเพิ่มปริมาณผสมรวมกับผงมะละกอจะมีความ-แข็งอยู่ในช่วง 6-7 kg และจะมีปริมาณในช่วง 2.9-3.3% และ 1.5-2.4% ตามลำดับ ส่วนยาเม็ดที่ใช้ icing sugar เป็นสารเพิ่มปริมาณผสมรวมกับมะละกอจะมีความแข็งในช่วง 4-5 kg และปริมาณความชื้น 1.0-2.5% เมื่อนำเม็ดยาที่เตรียมได้มาทดสอบความคงตัวทั้งทางเคมีและทางกายภาพโดยนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 450ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 75% เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อคัดเลือกสูตรที่มีความคงตัว สูตรที่ได้รับการคัดเลือกได้แก่ mannitol กับ carbopol, dextrose กับ carbopol, icing sugar กับ carbopol, และ icing sugar กับ HPMC จากนั้นนำสูตรที่คัดเลือกดังกล่าวไปเคลือบฟิล์มให้มีความคงตัวดีขึ้น พบว่าการเคลือบฟิล์มช่วยให้ความคงตัวทั้งทางเคมีและทางกายภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับยาเม็ดที่ไม่ได้เคลือบ โดยสามารถลดปริมาณความชื้นลงจากเดิมได้ประมาณ 30% และ activity ของเอนไซม์ลดช้าลงกว่าเดิมประมาณ 0.7-1 เท่า เมื่อนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 450ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 75 % เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในการประเมินคุณสมบัติทาง organoleptic โดยใช้ Hedonic scaling method สำหรับสูตรยาเม็ดชนิดเคี้ยวที่คัดเลือกมาแล้ว 4 สูตรข้างต้น พบว่าสูตรที่ได้คะแนนสูงสุดคือสูตรที่มีสารเพิ่มปริมาณเป็นผงมะละกอแห้งกับ icing sugar ในอัตราส่วน 1:1 และมี HPMC เป็นสารช่วยยึดเกาะ
abstract:
Papain, the purified proteolytic enzyme extracted from Carica papaya Linn. , has been widely used as an active ingredient in various digestive preparations. Formulation of papain enzyme chewable tablets was carried out by using PVP K-90, Carbopol, and, HPMC as binders and spray-dried papaya powder, icing sugar, mannitol, and dextrose as diluents. It was found that chewable tablets composed of only papaya powder as the diluent possessed rather high moisture content with hygroscopic property than those with mixed diluents, that is, 3.0-3.5%. Tablets containing mixed diluents of either mannitol or dextrose and papaya powder possessed hardness around 6-7 kg with moisture content of 2.9-3.3% and 1.5-2.4%, respectively, whereas those containing icing sugar and papaya powder possessed hardness around 4-5 kg with moisture content of 1.0-2.5%. Physical as well as chemical stability testings by storage of tablets under +450C 75% relative humidity (RH) for one week revealed that the candidate formulations were those containing mannitol with carbopol, dextrose with carbopol, icing sugar with carbopol, and icing sugar with HPMC. The film-coated tablets even further improved both physical and chemical stabilities such that the moisture content could be reduced upto 30% and enzyme activity decreased 0.7-1 times slower than the uncoated ones when storage under the same condition at 450 C / 75% RH for one week . Organoleptic evaluation of these 4 formulations chosen above was performed using Hedonic scaling method in order to assess their mouth feel acceptability. The most preferential formulation was composed of spray - dried papaya powder and icing sugar in the 1 : 1 ratio as diluents and HPMC as a binder.
.