การตอบสนองด้านการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูขาวต่อยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

โดย: วริษฐา สุขพานิช, วิภา ธรรมทินโน    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 17

อาจารย์ที่ปรึกษา: นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การหดตัว, กล้ามเนื้อมดลูกหนูขาว, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, Contractile response, rat isolated uterine smooth muscle, non-steroidal anti-inflammatory drugs
บทคัดย่อ:
ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) เป็นยาที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในการรักษาอาการปวดและอักเสบจากสภาวะต่างๆ โดยกลไกการออกฤทธิ์คือยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 (COX-1) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ไม่ให้เปลี่ยน arachidonic acid เป็น prostaglandins และ leukotrienes ยาในกลุ่ม non-selective NSAIDs จะมีฤทธิ์ยับยั้งทั้ง COX-1 และ COX-2 ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหาร จึงได้มีการพัฒนายาในกลุ่ม selective COX-2 inhibitors ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการยับยั้ง COX-2 มากขนเพื่อลดอาการข้างเคียงที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร และมีแนวโน้มในการนำยาเหล่านี้มาใช้มากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากข้อบ่งใช้เดิมแล้ว ยังมีประโยชน์ในการนำมาใช้ในทางสูตินรีเวช ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยา NSAIDs ที่มีระดับความจำเพาะเจาะจงต่อ cyclooxygenase ที่ต่างกันคือ ibuprofen (non-selective COX inhibitor) และ celecoxib (selective COX-2 inhibitor) เพื่อดูผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูขาวในระยะ estrus ที่ถูกกระตุ้นด้วย agonist 2 ตัว ที่ submaximal dose คือ acetylcholine (Ach) และ oxytocin จากนั้นทดสอบฤทธิ์ของ ibuprofen ที่ความเข้มข้น 10^-9 M ถึง 10^-3 M และ celecoxib ที่ความเข้มข้น 10^-9 M ถึง 10^-4 M พบว่าทั้ง ibuprofen และ celecoxib มีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูขาวที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นด้วย ACh และ oxytocin โดยมีค่า IC50 (ความเข้มข้นของ NSAIDs ที่สามารถยับยั้งการหดตัวได้ 50%) ที่แตกต่างกัน พบว่า IC50 ของ ibuprofen และ celecoxib ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกที่ถูกกระตุ้นด้วย ACh มีค่าเท่ากับ 2.14 x 10^-4 M และ 8.09 x 10^-6 M ตามลำดับ ส่วนกล้ามเนื้อมดลูก หนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วย oxytocin พบว่า ibuprofen และ celecoxib มีค่า IC50 เท่ากับ 1.14 x 10^-4 M และ 1.96 x 10^-6 M ตามลำดับ แสดงว่า celecoxib มีความแรงในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูขาวได้ดีกว่า ibuprofen
abstract:
Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) are widely used in the treatment of inflammatory conditions. The mechanism of action of NSAIDs is the inhibition of the cyclooxygenase-1 (COX-1) and cyclooxygenase-2 (COX-2) isoenzymes, which catalyzes arachidonic acid to prostaglandins and leukotrienes. It is postulated that the anti-inflammatory efficacy of NSAIDs is attributable to COX-2 inhibition and the gastrointestinal (GI) toxicity is due to COX-1 inhibition. Since the non-selective NSAIDs block both isoforms COX-1 and COX-2 and have significant side effect on the GI tract, this has led to the development of the new anti-inflammatory agents, the selective COX-2 inhibitors, which have less GI side effect. These drugs also provide beneficial effect in obstetric and gynecological conditions. The objective of this special project is to study the effect of two NSAIDs which have different specificity in inhibition of cyclooxygenase, ibuprofen (non-selective COX inhibitor) and celecoxib (selective COX-2 inhibitor) on rat uterine smooth muscle contraction in estrus state which is induced by the submaximal doses of two agonists, acetylcholine (ACh) and oxytocin. Ibuprofen at concentrations of 10^-9 M to 10^-3 M and celecoxib at concentrations of 10^-9 M to 10^-4 M are tested against the submaximal doses of ACh and oxytocin. Both ibuprofen and celecoxib exhibit inhibitory effect on uterine smooth muscle contraction induced by the two agonists at different IC50 values (the concentrations of NSAIDs that can inhibit the contractile response by 50%). The IC50 of ibuprofen and celecoxib against ACh induced uterine contraction are 2.14 x 10^-4 M and 8.09 x 10-^6 M, respectively while IC50 of ibuprofen and celecoxib against oxytocin are 1.14 x 10^-4 M and 1.96 x 10^-6 M, respectively. This study shows that celecoxib exhibits higher potency than ibuprofen in inhibition of rat uterine contraction induced by ACh and oxytocin.
.