อิทธิพลของพลาสติไซเซอร์ต่อการปลดปล่อยตัวยาที่ละลายน้ำได้น้อยจากยาเม็ดออสโมติกปั๊มชนิดควบคุมรูพรุน

โดย: กิตติพงษ์ พนิตชัยศักดิ์, ณรงค์ชัย วัฒนะนาวินรัตน์    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 17

อาจารย์ที่ปรึกษา: อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , มนต์ชุลี นิติพน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เฟโลดิปิน, povidone(PVP), ออสโมติกปั๊ม, พลาสทิไซเซอร์, สารก่อรู, felodipine, povidone (PVP), osmotic pump, plasticizers, microporous
บทคัดย่อ:
ในการเตรียมยาเม็ดออสโมติกปั๊มชนิดรูพรุน สามารถสร้างช่องเปิดโดยการเติมสารที่ ละลายน้ำได้ลงในสารก่อฟิล์ม ในการศึกษานี้ได้ใช้ยาเม็ดเฟโลดิปินซึ่งเป็นยาที่ละลายน้ำได้น้อย เคลือบด้วยเซลลูโลสอะซิเตท ใช้ povidone (PVP) เป็นสารก่อรู และใช้ polyethylene glycol (PEG) เป็นพลาสทิไซเซอร์ ยาเม็ดเฟโลดิปินเตรียมโดยวิธีแกรนูลเปียก มีส่วนประกอบต่อเม็ด คือ เฟโลดิปิน 10 มิลลิกรัมเป็นตัวยาสำคัญที่ละลายน้ำได้น้อย ฟรุกโตส และแลกโตส อย่างละ 67 มิลลิกรัม เป็นสารช่วยให้เกิดแรงดันออสโมติก แกรนูลที่ได้นำมาตอกเป็นยาเม็ด ให้มีน้ำหนัก 150 มิลลิกรัม ใช้สากขนาด 7 มิลลิเมตร จากการประเมินผลของยาเม็ดแกน พบว่า ความแข็งเฉลี่ย 6.9 กิโลกรัม, ความกร่อน ร้อยละ 0.2, เวลาในการแตกตัวสมบูรณ์ในน้ำกลั่นภายใน 10.5 นาที และ การละลายของตัวยาเม็ดเฟโลดิปินที่เวลา 90 นาที เท่ากับ ร้อยละ 92.3 ± 4.5 ของปริมาณที่ระบุ ปริมาณตัวยาสำคัญเท่ากับ ร้อยละ 95.2 ของปริมาณที่ระบุ ยาเม็ดแกนถูกเคลือบด้วยเซลลูโลสอะ ซิเตท ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-4 โดยน้ำหนัก โดยมี PEG 400 ร้อยละ 30 โดยน้ำหนักของ เซลลูโลสอะซิเตท เป็นพลาสทิไซเซอร์ และใช้ PVP K30, PVP K90, PEG4000, PEG6000 ที่ความ เข้มข้นต่างๆเป็นสารก่อรู พบว่ายาเม็ดเคลือบทุกตำรับมีน้ำหนัก ความแข็งเพิ่มขึ้น ความกร่อน ลดลง ผลการทดสอบการละลายเวลา 6 ชั่วโมงพบว่ายาเม็ดออสโมติกปั๊มไม่มีการแตกตัวและมีค่า การละลายอยู่ในช่วงร้อยละ 4.1 – 19.1 ของปริมาณที่ระบุ โดยทั้งชนิด ปริมาณของสารก่อรูและพ ลาสทิไซเซอร์ ในปริมาณที่ศึกษาไม่มีผลต่อการปลดปล่อยตัวยา เมื่อลดปริมาณเซลลูโลสอะซิเตท พบว่าการปลดปล่อยตัวยาเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่ารูปแบบยาเม็ดออสโมติกปั๊มชนิดหลายช่องเปิดยังไม่ สามารถใช้ในการเตรียมยาเฟโลดิปิน ซึ่งเป็นยาละลายน้ำยากได้
abstract:
To prepare the microporous osmotic pump tablets, a water soluble substance is added to the semipermeable film former solution. In this study, felodipine tablets were prepared and coated with cellulose acetate containing povidone (PVP) as a pore forming agent, and polyethylene glycol (PEG) as a plasticizer. Each tablet comprised 10 mg felodipine, 67 mg each of fructose and lactose as osmogents. The tablets were prepared by wet granulation process and compressed using 7 mm toolings to the tablet weight of 150 mg. The core tablets were evaluated for physical properties. It was found that the hardness and friability were 6.9 kg and 0.2%, respectively. The core tablets disintegrated in distilled water completely within 10.5 min and the dissolved drug at 90 min was 92.3 ± 4.5% of labeled amount. The drug content was 95.2% of the labeled amount. The core tablets were coated to 2-4%w/w cellulose acetate weight increase containing 30%w/w PEG400 based on cellulose acetate as a soluble plasticizer. The pore formers used were PVP K30, PVP K90, PEG4000 and PEG6000. The coated tablets exhibited the increases in weight and hardness, and the decrease in friability. After 6 h of the dissolution test, the coated tablets did not disintegrate and the dissolved drug was 4.1 – 19.1% of the labeled amount. The drug release of felodipine from the microporous osmotic pump tablets did not affected by both type and amount of the pore formers and plasticizer. The decrese in cellulose acetate level appeared to improve the drug release. In conclusion, felodipine, the poorly soluble drug, could not be successfully prepared in a form of microporous osmotic pump tablets.
.