การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน

โดย: วิภา วชิรตรีรัตน์, เอมวิกา วงษ์ฟูเกียรติ    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 15

อาจารย์ที่ปรึกษา: พิสมัย กุลกาญจนาธร , สลินทิพย์ จารุสินธนากร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: กากหญ้าหวาน, มะลิ, Extracted stevia (Stevia rebaudiana Bertoni), Jasmine
บทคัดย่อ:
กากต้นหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana Bertoni) ที่ผ่านการสกัดสารสตีวิโอไซด์ (steviosides) แล้ว ยังคงมีความหวานเหลืออยู่และน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มความหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่ม โครงการพิเศษนี้จึงได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน ซึ่งจากการทดสอบน้ำสกัดจากกากหญ้าหวานด้วยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟฟี (thin layer chromatography, TLC) พบว่ายังคงมีสารสตีวิโอไซด์เหลืออยู่ แต่น้ำสกัดมีสีและกลิ่นที่ไม่น่ารับประทาน จึงต้องพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีและกลิ่นที่ดีขึ้น โดยผลิตภัณฑ์นั้นจะมีรสหวานจากหญ้าหวาน และมีกลิ่นและสีจากพืชธรรมชาติ การพัฒนารูปแบบชาชงสำเร็จรูปเป็นเครื่องดื่ม โดยเลือกทดสอบกับพืชธรรมชาติ 4 ชนิดได้แก่ อัญชัน (Clitoria ternatea L.) มะลิ (Jasminum sambac) กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.) และใบเตย (Pandanus amaryllifolius Roxb.) และทำการทดสอบความพึงพอใจโดยอาสาสมัคร (sensory evaluation) ในด้านสี กลิ่น และรสชาติของผลิตภัณฑ์ และประเมินผลด้วยสถิติ (ANOVA) พบว่าผลิตภัณฑ์ชาชงที่ผสมมะลิได้รับความพึงพอใจมากกว่าสูตรอื่นๆ
abstract:
Extracted stevia from Stevia rebaudiana Bertoni is still sweetness. It is utilized to replace sugar in foods and beverages. By evaluation with thin layer chromatography (TLC), it is found that there is a little steviosides left in the extracted stevia. However, the appearance of extracted stevia is not attractive, because of its bad color and odor. These problems are overcome by using the flavoring agent from natural sources. The development of finished products from extracted stevia is the purpose of this project. The developed products are satisfied in color, odor from natural plants and sweetness from stevia. Study of instant beverage formula, four natural flavoring plants are used, such as blue pea (Clitoria ternatea L.), jasmine (Jasminum sambac), roselle (Hibiscus sabdariffa L.) and pandanus palm (Pandanus amaryllifolius Roxb.). The beverages were tested for satisfaction by sensory evaluation of appearance, color, odor, and taste. According to ANOVA statistical assessment, the jasmine formula is the most satisfactory by volunteers.
.