การพัฒนาสูตรตำรับสบู่เหลวสมุนไพรเพื่อการฆ่าเชื้อ |
โดย: กชวรรณ กำสิน ปีการศึกษา: 2551 กลุ่มที่: 15 อาจารย์ที่ปรึกษา: ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ Keyword: บัวบก, สบู่เหลว, ฆ่าเชื้อ, Centella asiatica, liquid soap, antiseptic |
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อเป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมในการรักษาสุขอนามัย ของบุคลากรทางสาธารณสุขที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งผลิตภัณฑ์สบู่เหลวผสมสาร สกัดจากสมุนไพรก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจพัฒนา จากการศึกษางานวิจัยฤทธิ์ใน การฆ่าเชื้อของสารสกัดจากบัวบก Centella asiatica (L.)Urb. พบว่ามีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphylococcus aureus ดังนั้นโครงการพิเศษนี้จึงได้นำบัวบกมาเตรียมเป็นสารสกัดพร้อมทั้ง พัฒนาสูตรตำรับสบู่เหลวจากสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ด้วยวิธีสกัดสารสำคัญจากบัวบกแห้ง ด้วย Ethanol 95% แล้วแยกส่วนที่ละลายในน้ำออกมาทำให้เป็นผงแห้งด้วยวิธี Lyophilization และนำมาทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ S. aureus ด้วยวิธี Broth Dilution พบว่าได้ค่า Minimal Inhibitory Concentration (MIC) เท่ากับ 2.5 มก./มล. จากนั้นทำการพัฒนาสูตรตำรับสบู่เหลว ผสมสารสกัดบัวบก และนำมาทดสอบฤทธิ์ฆ่าเชื้อโดยการล้างนิ้วมือของอาสาสมัคร 10 คน เทียบ กับการล้างด้วยน้ำประปาและสบู่เหลวทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด พบว่าสบู่เหลวที่มีส่วนผสม ของสารสกัดจากบัวบกสามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่าการล้างนิ้วมือด้วยน้ำประปา และสบู่เหลวทั่วไปอย่างชัดเจน |
abstract: In the present, handrubbing with antiseptic soap appears to be one of the appropiate method of increasing hygiene compliance among health professionals who have to close contact to patient. Liquid soaps containing herbal extract are quite interested to be developed. The purpose of this study was to formulate the herbal antiseptic liquid soap. It has revealed that Centella asiatica (L.) Urb. (tiger herbal) showed antibacterial activity against Staphylococcus aureus. The dried leaf powder obtained from Centella asiatica (L.) Urb. was extracted with 95% Ethanol and then water soluble constituents were seperated and lyophilized to be water fraction powder. The water fraction of tiger herbal extract was tested for antibacterial effects by broth dilution method. The minimal inhibitory concentration (MIC) of this extract against S . aureus ATCC 25175 was 2.5 mg/ml The liquid soap contained tiger herbal extract was developed and then investigated for its antibacterial activity by washing with water fraction of tiger herbal extract liquid soap showed greater reduction in bacterial count than control groups using normal tap water and commercial liquid soap. |
. |