การพัฒนาอะซัยโคลเวียโปรไลโปโซมในรูปผงแห้ง |
โดย: พรพรรณ บานเย็น, วิทยา นาคาชน ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 15 อาจารย์ที่ปรึกษา: ณรงค์ สาริสุต ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: อะซัยโคลเวีย, โปรไลโปโซม, ไลโปโซม, แกรนูล, ยาเม็ด, Acyclovir, Proliposomes, Liposomes, Granules, Tablets |
บทคัดย่อ: ไลโปโซม สามารถทำหน้าที่เป็น ”ระบบนำส่งยาตรงเป้า” (drug targeting) อย่าง เฉพาะเจาะจงได้ แต่มีปัญหาทางด้านความคงตัวทั้งทางเคมีและกายภาพ ซึ่งการนำมาเตรียมใน รูปแบบของโปรไลโปโซมจะช่วยแก้ปัญหาความคงตัวของไลโปโซมได้ ในการพัฒนาอะซัยโคลเวีย โปรไลโปโซมในรูปผงแห้งนี้ทำโดยการเตรียมแกรนูลอะซัยโคลเวีย ซึ่งมีอัตราส่วนของอะซัยโคลเวีย และแมนนิทอล เท่ากับ 1:1 และ 1:3 แล้วทำการเคลือบด้วยส่วนผสมของฟอสฟาติดิลโคลีนและ โคเลสเตอรอล ในอัตราส่วน 5:5 และ 7:3 ในสารละลายไดคลอโรมีเทน ทำโดยค่อยๆ ฉีดพ่น สารละลายลงบนแกรนูลซึ่งกลิ้งอยู่ในหม้อเคลือบแก้วที่ติดไว้กับเครื่องเคลือบยาเม็ดที่หมุนรอบ ตลอดเวลา แล้วทิ้งให้สารละลายที่เคลือบแห้ง จากผลการทดลอง พบว่า ลักษณะภายนอกของโปร ไลโปโซมแกรนูลตำรับที่มีปริมาณฟอสฟาติดิลโคลีนและโคเลสเตอรอล เท่ากับ 7:3 (ตำรับที่ 3 และ 4) มีลักษณะค่อนข้างเหนียว แกรนูลมักเกาะกลุ่มรวมกัน มีค่า % compressibility เท่ากับ 6.67 % และ 10.00 % ตามลำดับ ส่วนตำรับที่มีปริมาณฟอสฟาติดิลโคลีนและโคเลสเตอรอล เท่ากับ 5:5 (ตำรับที่ 1 และ 2) สามารถไหลได้ดี มีค่า % compressibility เท่ากับ 2.22 % และ 2.22 % ตามลำดับ เมื่อนำโปรไลโปโซมแต่ละตำรับไปไฮเดรทด้วยฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.8 จะได้ไลโปโซม ที่มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่ามีลักษณะเป็นถุงกลมขนาดเล็ก จาก การประเมินคุณสมบัติของอะซัยโคลเวียไลโปโซมที่ได้พบว่า ตำรับที่ 1 และ 2 มีขนาดอนุภาคใหญ่ กว่าตำรับที่ 3 และ 4 สำหรับประสิทธิภาพในการกักเก็บตัวยาของตำรับที่ 1, 2, 3 และ 4 มีค่า เท่ากับ 23.88 %, 23.07 %, 32.87 % และ 15.75 % ตามลำดับ จากนั้นนำโปรไลโปโซมแกรนูล ตำรับที่ 3 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกักเก็บตัวยาสูงที่สุดมาทำการตอกเม็ดและตรวจสอบคุณสมบัติ ของยาเม็ด ได้แก่ น้ำหนัก, ความหนา, เวลาในการแตกตัว และนำมาไฮเดรท เพื่อหาประสิทธิภาพ ในการกักเก็บ พบว่ามีค่า เท่ากับ 19.50 % ซึ่งต่ำกว่าโปรไลโปโซมแกรนูล ข |
abstract: Liposomes have been well recognized as drug targeting system that could be specifically directed to target sites but suffered from their chemical and physical instability. Preparation in the form of proliposomes has been proposed to avoid such problems. In this study acyclovir proliposomes dry powder were manufactured by first preparing the acyclovir granules with acyclovir to mannitol ratios of 1:1 and 1:3, and then coating with solution of phosphatidylcholine (PC) and cholesterol (CHOL) mixture at ratios of 5:5 and 7:3 in rotating granules in a glass pan mounted on the rotating coating machine with drying air. It was found that physical appearance of proliposome granules with PC to CHOL ratio of 7:3 (formulation 3 and 4) are tacky and aggregated, having % compressibility of 6.67 % and 10.00 %, respectively. In the case of proliposome granules with PC to CHOL ratio of 5:5 (formulation 1 and 2) possessed good flowability with % compressibility of 2.22 % and 2.22 %, respectively. Hydration of all formulation of proliposomes with phosphate buffer pH 6.8 resulted in colloidal dispersions, which exhibited microscopic vesicular structure by examination under microscope. Physicochemical characterization of acyclovir liposomes revealed that formulations 1 and 2 possessed particle sizes larger than formulations 3 and 4. Trapping efficiencies of formulations 1, 2, 3 and 4 were 23.88 %, 23.07 %, 32.87 % and 15.57 %, respectively. The proliposome granules with the maximum trapping efficiency, formulation 3, were selected to be compressed into tablets and subject to physical testing such as weight, thickness and disintegration time. Liposomes obtained by hydration of proliposome tablets were found to have lower trapping efficiency at 19.50% as compared to those of granules. |
. |