การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาไทยทางเภสัชจลนศาสตร์เพื่อใช้ในงานเภสัชกรรมคลินิก II

โดย: ดุษฎี สุริยพรรณพงศ์,อรรถพล เอกสุวรรณ    ปีการศึกษา: 2538    กลุ่มที่: 13

อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านชีวเภสัช(Biopharmaceutics)และ ทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) เพื่อนำมาใช้ทางคลินิก โดยโปรแกรมที่ใช้จะใช้ภาษาไทย โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถใช้เครื่อง Computer ระดับ Personal Computer (PC) และ โปรแกรมทำงานบนสิ่งแวคล้อม (Environment) ของ Microsoft Windows ซึ่งง่ายต่อการใช้ เนื่องจาก Windows สนับสนุนการติดต่อผู้ใช้ด้วยรูปกราฟฟิก (Graphic user interface, GUI) ทำให้ผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน และไม่คุ้นเคยกับการใช้ Command Line ของ Microsoft DOS สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น การพัฒนาโปรแกรมนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ II ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ I (Theophylline) สำหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ II ได้พัฒนาเพื่มเติมจากโครงการเดิม ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้รหัสผู้ป่วย หรือ ชื่อผู้ป่วยเป็นคีย์ในการค้นหา เก็บประวัติการแพ้ยา การใช้ยา โรคประจำตัว ค่า Factor ที่เกี่ยวกับการคำนวณ นอกจากนี้ยังปรับปรุงโปรแกรมให้มีลักษณะทั่วไป กล่าวคือ สามารถคำนวณหา dose ที่เหมาะสมของยา aminoglycoside ได้ ผลที่ได้จากการพัฒนาโปรแกรม สามารถคำนวณ Loading dose และ Maintenance dose ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล (individualize) และการเก็บข้อมูลผู้ป่วยไว้ใช้ในครั้งต่อไป โดยเลือกเฉพาะข้อมูลพื้นฐานที่จะเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล และสามารถที่จะพิมพ์ข้อมูลออกลงแผ่นกระดาษเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลใช้ในการศึกษาในอนาคต
abstract:
This special project aims to develop a Biopharmaceutics and Pharmaco- kinetics computer application in thai language for clinical use. This application was developed for personal computer based on Microsoft Windows operating system which easy to operate. Because Microsoft Windows’s user interface is graphics, it helps user are not familiar with Microsoft DOS command line. The development of this program is intended for clinicians to study about Pharmacokinetics Program which is an extended research from the one previous Pharmacokinetics I Program. The following aspect of Pharmacokinetics were developed additionally to the original one : the accessment of database, drug allergic data, medication record,underlying disease etc. This application was developed so that it can be applied for Aminoglycoside dosage calculation. Result of this application is that it can calculate loading dose and maintenance dose properly for each patient. The basic Pharmacokinetics data in each patients are stored in files so that these data can be retrieved to be used for the next calculation. Moreover it can print Pharmacokinetics data and calculated loading dose and maintenance dose on the paper for using in the future.
.