การพัฒนาตำรับเจลของสารสกัดชาเพื่อใช้ในการรักษาสิว

โดย: น.ส.ธัชสินี กาญจนอลงกรณ์ ,นายธีรวัฒน์ จันทวัชรากร    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 12

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย , พิมลพรรณ พิทยานุกุล , มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ชา, Camellia sinensis L., เจลสารสกัดชา, การรักษาสิว, Propionibacterium acnes, tea, Camellia sinensis L., tea extract gel, acne treatment, Propionibacterium acnes
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อพัฒนาตารับเจลของสารสกัดชาในการรักษาสิว สารสกัดจากใบชามีสารสาคัญคือ catechin ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นพยาธิกาเนิดและกระตุ้นการเกิดสิว คือ เชื้อ Propionibacterium acnes (P. acnes), Staphylococcus epidermidis (S. epidermidis) และ Staphylococcus aureus (S. aureus) Catechin เป็นสารในกลุ่ม polyphenolic compounds จึงทาการวิเคราะห์หาปริมาณ total phenolic contents โดยวิธี Folin-Ciocalteau method และทาการวิเคราะห์หาปริมาณ total flavonoid contents โดยวิธี Aluminium chloride colorimetic assay จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดชาเขียวตัวอย่างมีปริมาณ total phenolic และ flavonoid contents น้อยกว่าที่พบในชาทั่วๆไป ในการประเมินประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อสิวทั้ง 3 ชนิดของสารสกัดชาโดยทาการทดสอบด้วยวิธี broth dilution และมี clindamycin เป็น positive reference standard พบว่าสารสกัดชามีค่า minimum inhibitory concentrations (MICs) ต่อเชื้อ P. acnes, S. aureus และ S. epidermidis เท่ากับ 2.5, 1.25 และ 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีค่า minimum bactericidal concentrations (MBCs) เท่ากับ 10, 5 และ 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ เมื่อพิจารณาจากผลดังกล่าว การพัฒนาตารับเจลของสารสกัดชาจึงเน้นฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ P. acnes เป็นสาคัญ โดยให้มีปริมาณของสารสกัดชาในตารับเท่ากับ 1.25% w/w ซึ่งคิดเป็น 5 เท่าของค่า MIC ต่อเชื้อ P. acnes โดยพบว่าตารับเจลของสารสกัดชาที่ใช้ carbopol® U20 2% w/w ให้เจลที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่ดี เมื่อทาการประเมินประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ P. acnes ของตารับโดยใช้ clindamycin gel ที่มีจาหน่ายในท้องตลาดเป็น positive reference standard พบว่าเจลของสารสกัดชามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้ จากนั้นทาการทดสอบความคงตัวของตารับเจลของสารสกัดชาที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิตู้เย็น เป็นระยะเวลานาน 35 วัน พบว่าตารับเจลมีความคงตัวที่ดี ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของสี ค่าความเป็นกรดด่าง ความหนืด และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ
abstract:
The aim of special project is the development of gel containing tea extract for acne treatment. Antimicrobial activity of tea leaf extract has been attributed to catechin that was studied against acne causing bacterias, namely Propionibacterium acnes (P. acnes), Staphylococcus epidermidis (S. epidermidis) and Staphylococcus aureus (S. aureus). Catechin is polyphenolic compounds. Therefore, we performed the analysis to measure amount of total phenolic contents by using the Folin-Ciocalteau method and total flavonoid contents by using Aluminium chloride colorimetic method. These results showed that total phenolic and catechin contents are less than regular tea. Evaluating the effectiveness of inhibiting bacteria causing acne was tested by using broth dilution method with clindamycin is a positive reference standard. These results showed the minimum inhibitory activities (MICs) for P. acnes, S. aureus and S. epidermidis of tea extract were 2.5 mg/mL, 1.25 mg/mL, 10 mg/mL and minimum bactericidal activities (MBCs) were 10 mg/mL, 5 mg/mL and 20 mg/mL, respectively. From the results of such experiments, the tea extract gel formulation development is emphasized to inhibited P. acnes. Then the concentration of extract loaded in the gel is 1.25% w/w that was five times of MIC of P. acnes. Finally, the final formulation with 2% w/w carbopol® U20 gave a gel with good physicochemical properties. Then evaluating the effectiveness of inhibiting P. acnes with clindamycin gel that available in market is a positive reference standard, the results were effectively. For stability test, the prepared formulations were kept under ambient and refrigerant condition for 35 days. The results showed that the formulation was no difference in color, pH, viscosity and efficacy.
.