การศึกษาปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับยาจากใบสั่งยาแพทย์ในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเลิดสิน

โดย: รุ่งระวี ชัยวัฒน์,ฤดีภรณ์ ตันติพลพันธ์    ปีการศึกษา: 2541    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
จากการสังเกตของเภสัชกรโรงพยาบาลเลิดสิน พบว่าการใช้ยารักษาวัณโรคอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วย เช่นการดื้อยา การเกิดพิษจากยา ผู้ป่วยไม่หายจากโรค จึงได้จัดทำการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการใช้ยารักษาวัณโรคของผู้ป่วยนอก การศึกษาครั้งนี้รวบรวมข้อมูลการใช้ยารักษาวัณโรคของผู้ป่วยเปรียบเทียบกับมาตรฐานของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่ได้รับยาระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ. 2541 เก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์บันทึกรายการยาและประวัติการรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ได้รับยารักษาวัณโรคเป็นครั้งแรกและมีการติดตามการใช้ยาจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาวัณโรคในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวน 266 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาจนครบการรักษาในเวลาดังกล่าว 65 คน คิดเป็นร้อยละ 24.44, กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยามากกว่า 6 เดือนแต่ยังไม่ครบการรักษามีจำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 49.62, กลุ่มที่เหลืออีก 69 คน คิดเป็นร้อยละ 25.94 เนื่องจากมีการรักษายังไม่ครบ 6 เดือน จึงไม่ได้รายงานแบบแผนการใช้ยา จากกลุ่มข้อมูลที่ได้รับการรักษาจนครบการรักษานั้น พบว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตรงตามแบบแผนการรักษาจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 67.69 จากจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 65 คน สำหรับกลุ่มที่ได้รับยามากกว่า 6 เดือน แต่ยังไม่ครบการรักษานั้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาต่อเนื่อง 95 คน คิดเป็นร้อยละ 71.95 จากผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 132 คน นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาไม่ตรงตามน้ำหนักที่กำหนดมีจำนวน 31 คน จากผู้ป่วยที่ทราบน้ำหนัก 44 คน คิดเป็นร้อยละ 70.45 แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของเวลาในการศึกษา และศึกษาเฉพาะผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเลิดสิน แต่ก็เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ได้รับยาไม่ตรงตามมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ทำให้เกิดปัญหาผู้ป่วยไม่หายจากวัณโรคที่เป็น โอกาสดื้อยามากขึ้น หรือมีโอกาสเกิดความเป็นพิษจากยาเพิ่มขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดการใช้ยาเกินความจำเป็น จึงน่าจะมีการศึกษาหรือจัดทำแบบการติดตามการใช้ยารักษาวัณโรคต่อไป
abstract:
From the observation of pharmacist at Lerdsin Hospital, we found that the patients who receive antituberculosis drugs may be have some medication problems; such as drug resistant, drug toxicity, or the disease is not cured. The study objective is to find the characteristic of antituberculosis drugs used at the hospital compared to the standard regimen, Data were collected from patients using antituberculosis drugs during January to April 1998, identified from OPD cards and dispensing room computer database, It was collected the information since using antituberculosis for the first time until June 1998. Overall 266 patients were included, 65 patients(24.44%) with complete course of medications and the rest with incomplete course of medication period. The latter group can further divided into 2 groups. One hundred and thirty two patients (49.62%) who had over 6 months of antituberculosis drugs.Sixty nine patients (25.94%), we doesn’t report, who had less than 6 months of antituberculosis drugs less than 6 month. In the complete medication group, 44 patients (67.69%) received regimen different from the standard. In the incomplete medication group, With more than 6 month of medications 95 patients (71.95%) did not receive continuous medication. Furthermore, of the 44 patients who have the weight 31 patients(70.45%) received dosage difference the standard regimen. From our findings, the majority of patients did not receive their standard drug regimen. This may result in drug problems such as drug resistance, drug toxicity, drug waste, and the disease is not cured. Further study of tuberculosis drug used to maximize the efficacy of drug used and patients benefit is need.
.