การศึกษาผลของ chitin และ chitosan ต่อการแข็งตัวของเลือด และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

โดย: สุชาดา สุนทรชัชเวช,อัปสร อภิญญาวงศ์เลิศ    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล , นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล , สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การนำสาร chitin และอนุพันธ์มาใช้ทางการแพทย์เกี่ยวกับผลต่อขบวนการแข็งตัวของเลือดมีรายงานลงใน scientific literature จึงได้ทำการศึกษาผลของ chitin และ chitosan ต่อการแข็งตัวของเลือด โดยใช้มีดผ่าตัดกรีดฝ่าเท้าซ้ายและขวาของหนูทดลองเพศผู้ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วหยด suspension ของ chitin หรือ chitosan ซึ่งมี methylcellulose เป็น suspending agent ลงบนฝ่าเท้าขวาและหยด mucilage ของ methylcellulose ลงบนฝ่าเท้าซ้ายเพื่อเป็น control วัดระยะเวลาที่เลือดออกเปรียบเทียบกัน สรุปได้ว่า chitin suspension สามารถลดระยะเวลาที่เลือดออกลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ chitosan suspension จะมีผลเพิ่มระยะเวลาที่เลือดออกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของผลดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาผลของ chitin และ chitosan ต่อกระบวนการแข็งตัวของเลือด (blood coagulation process) ในหลอดทดลองปรากฎว่า chitosan suspension มีผลเพิ่ม activated Partial Thromboplastin Time (aPTT) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีผลเพิ่มProthrombin Time (PT) ในขณะที่ chitin suspension ให้ผลต่อ aPTT และ PTไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แสดงว่า chitosan มีฤทธิ์ยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือด(clotting factor) เฉพาะใน intrinsic pathway แต่ไม่มีผลต่อ extrinsic pathway ซึ่งต่างกับ chitin โดยพบว่า chitin ไม่มีผลต่อทั้ง intrinsic และ extrinsic pathway เข้าใจว่าเกิดจากสารเคมีที่ใช้กระตุ้นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในหลอดทดลอง คือ Neothromtin R และ CaCl 2 solution ในการหา aPTT และThromborel R S ในการหา PT จะกระตุ้นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเต็มที่อยู่แล้ว(กระตุ้น100%)ดังนั้นถึงแม้ว่า chitin จะกระตุ้นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเหล่านั้นอีก ก็ไม่สามารถทำให้ aPTT หรือ PT สั้นลงได้ อีกกรณีที่อาจเป็นไปได้คือ chitin มีผลต่อplatelet aggregation และ/หรือมีฤทธิ์ทำให้เกิด vasoconstriction โดยไม่เกี่ยวข้องกับ intrinsic และ extrinsic pathway ซึ่งจะต้องทำการศึกษาต่อไป
abstract:
The medical application of chitin and its derivatives on coagulation process was reported in few scientific literatures. However, these literatures were not clear. Thus, this project aims to study the effects of chitin and chitosan on coagulation process. Each rat left and right feet were cutted 1 mm deep and 5 mm long.Suspension of chitin or chitosan in MC 4000 was droppedon the one foot whereas MC 4000 mucilage was dropped on the opposite foot as a control. The bleeding times were measured and compared. It could be concluded that chitin suspension could decrease bleeding time significantly (p<0.05) , whereas chitosan suspension could increase bleeding time significantly (p<0.05). In order to identify the cause of in vivo results , the in vitro experiments were conducted.Chitosan suspension increased activated Partial Thromboplastin Time (aPTT) significantly (p<0.05) whereas it did not have an effect on Prothrombin Time (PT). On the other hand,chitin had no effect on both aPTT and PT. It was concluded that chitosan might inhibit cloting factor just in intrinsicpathway but it had no effect on extrinsic pathway. In contrast, chitin had no effect on both extrinsic and intrinsic pathway. The undetectable effect of chitin for in vitro experiment might be generated from (1) chemical which was used to detect aPTT (Neothromtin R ) and PT(Thromborel R S) stimulated cloting factor completely (100%),thus chitin might not decrease both aPTT and PT or (2) chitin might have effect on platelet aggregation and /or vasoconstriction but really did not have effect on both intrinsic and extrinsic pathway.The effect of both chitin and chitosan on platelet aggregation and vasoconstriction will be studied further. OPT1.50
.