ฤทธิ์กันเสียของฝาง(Caesalpinia sappan L.)ในผลิตภัณฑ์อาหาร

โดย: นฤพร สุทธิสวัสดิ์, ศุทธินี ธไนศวรรยางกูร    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: ม.ล.สุมาลย์ สาระยา , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: ฝาง, Brazilin, Haematoxylin, Caesalpinia sappan L., Brazilin , Haematoxylin
บทคัดย่อ:
อุตสาหกรรมผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปในปัจจุบันมีการใช้สารกันเสียประเภทสารเคมีเพื่อ ชะลอการบูดเสียของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งสารเคมีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หาก ได้รับเกินปริมาณที่กำหนดและในระยะเวลาต่อเนื่องกัน จึงได้มีการค้นคว้าเพื่อหาสารที่ปลอดภัย มาใช้ทดแทน จากการศึกษาวิจัยพบว่าฝางเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพและมีความปลอดภัย ต่อผู้บริโภค พบว่ามีสารสำคัญอยู่ 2 ชนิดคือ Brazilin และ Haematoxylin การศึกษานี้เป็นการ ประเมินผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพชนิดต่างๆของสารสกัดของฝาง โดยทดสอบหา ค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) ของ Caesalpinia sappan L., Brazilin และ Haematoxylin ต่อเชื้อ 4 ชนิด ได้แก่ S.aureus ATCC 6538 , E.coli ATCC 2592, S.typhimurium ATCC 13311 ซึ่งได้ค่า MIC ดังนี้ 125, 250, 250 และ 250, 500, 1000 และ 62.5, 125, 250 ตามลำดับ สำหรับ C.albicans ATCC 10231 ไม่สามารถสังเกตผลได้ และได้นำ ผลการทดลองไปประยุกต์ใช้กันเสียในน้ำพริกโดยใช้สารสกัดของฝางในปริมาณที่แตกต่างกันและ ตรวจสอบฤทธิ์กันเสียด้วยวิธีทางจุลชีววิทยาทุก 1 เดือนเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสารสกัดของฝาง สามารถลดปริมาณของเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ส่วนประกอบและปริมาณของ สารสำคัญของสารสกัดของฝางโดยวิธี Thin Layer Chormatography (TLC) และ spectrophotometry พบสาร Brazilin แต่ไม่สามารถตรวจพบ Haematoxylin ได้เนื่องมาจากอาจ มีปริมาณที่ต่ำเกินไป ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ฝางสามารถใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการศึกษาเรื่องส่วนประกอบและปริมาณของสารสำคัญในการออก ฤทธิ์โดยวิธีทางเคมีอย่างละเอียดต่อไป
abstract:
In food industry, chemical agents have been used to preserve food from spoilage caused by microorganisms. These agents may cause danger to the consumers after taking for a long period or overamount use. To avoid the risk, the natural agents have been used instead of these chemicals. In this project, the antimicrobial activity of Caesalpinia sappan L. which composed of two major components, Brazilin and Haematoxylin was studied. The minimum inhibitory concentration (MIC) of Caesalpinia sappan L., Brazilin and Haematoxylin against S.aureus ATCC 6538 ,E.coli ATCC 25922, S.typhimurium ATCC 13311 were 125, 250, 250 and 250, 500, 500 and 62.5, 125, 250, respectively. For C.albicans ATCC 10231 could not be observed. The results were then applied to use Caesalpinia sappan L. as preservatives in chilli-paste products. The results showed that Caesalpinia sappan L. efficiently reduced the amount of bacteria and fungi during three month study period. By Thin Layer Chromatography (TLC) and spectrophotometric method, the quantity of brazilin was detected but not with Haematoxylin, it may be due to the very small amount of the latter. In conclusion, Caesalpinia sappan L. is effectively for use as preservative agent in food products. Further project should be the study of components and quantity of active ingredients, thoroughly.
.