ติดต่อเรา
 



โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัย รุ่นที่ 2
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566
ณ ห้องประชุม 105 ชั้น 1 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
 
   
การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัยตามหลักอนุกรมวิธานพืชนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและความถูกต้องของงานวิจัย เนื่องจากเป็นขั้นตอนในเบื้องต้นของการทำวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์และเตรียมตัวอย่างพืชสมุนไพรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้วยเหตุนี้การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรที่ถูกต้องจึงถือได้ว่าเป็นการประกันคุณภาพของงานวิจัยตั้งแต่ขั้นตอนแรกและมีส่วนช่วยให้การส่งต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ประสบผลสำเร็จ
พิพิธภัณฑ์พืชเป็นสถานที่ในการเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชในรูปแบบของตัวอย่างแห้ง (herbarium specimen) และตัวอย่างดอง (spirit collection) เพื่อการระบุชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของพืช และให้บริการอ้างอิงแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์ของพืช ซึ่งพิพิธภัณฑ์พืชที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนโดย New York Botanic Gardens ในฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า Index Herbariorum สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มีพิพิธภัณฑ์พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องเพียงแห่งเดียว นั้นคือ พิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีอักษรย่อตามที่ได้ถูกขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูล Index Herbariorum ว่า PBM
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรและเครื่องยาไทย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการนำหลักอนุกรมวิธานพืชมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยพืชสมุนไพรแก่นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ เพื่อให้เกิดการศึกษาวิจัย การใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรและเครื่องยาไทยอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้การจัดโครงการดังกล่าวยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์การให้บริการตรวจสอบแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของ พิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยมหิดล อีกช่องทางหนึ่ง

กลุ่มเป้าหมาย:

นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลที่สนใจ จำนวน 80 คน

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร:

E-mail:ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail: headpypb@mahidol.ac.th โทรศัพท์มือถือ: 02-6448696  โทรศัพท์ :หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ Email: supattra.kon@mahidol.ac.th โทรศัพท์ 087-5597393

ค่าลงทะเบียน:

บุคคลทั่วไป 3,500.00 THB
บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาทั่วไป 2,500.00 THB
   

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน :


สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ

ดาวน์โหลดเอกสาร :

   


 
https://tinyurl.com/2zu9zyx6



 



ท่านที่สมัครผ่านทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ชื่อของท่านจะปรากฏบนเว็บไซต์ภายใน 3 วันทำการ
หากชื่อท่านไม่ขึ้นในเวลาดังกล่าวโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่




รายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์
 
โปรดตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของท่านให้ถูกต้อง ระบบจะใช้ชื่อที่ปรากฎนี้จัดทำประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร(ถ้ามี) หากผิดพลาดโปรดแจ้ง supattra.kon@mahidol.ac.th เพื่อแก้ไข

และ หากท่านประสงค์นำรถเข้ามาจอด โปรด Download และ Print บัตรจอดรถ โดยคลิกที่ปุ่ม "บัตรจอดรถ" หลังชื่อของท่าน

บริการที่จอดรถเป็นสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบ Online เท่านั้นโดยทางคณะจะจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้

สำหรับผู้ลงทะเบียนช่องทางอื่น ท่านสามารถนำรถเข้ามาจอดในคณะได้ โดยทำการแลกบัตรกับ รปภ.
ทั้งนี้ที่จอดรถอาจไม่เพียงพอสำหรับท่าน โปรดเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง บัตรจอดรถ  
1 C179-0001 ภญ. ปัณฑิตา ชิตเ*** บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาทั่วไป online
2 C179-0003 ภญ. ศุภักษรา รวยธ****** บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและนักศึกษาทั่วไป online
3 C179-0004 ภญ. เพ็ญนภา เจริ********** บุคคลทั่วไป online
4 C179-0005 นางสาว อรจิรา คำพิ** บุคคลทั่วไป online




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ส่งหลักฐานการโอนเงินแล้ว(รอตรวจสอบ)

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง ต้องชำระ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานการชำระฯ หรือ ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน  
1 C179-0002 นางสาว นงเยาว์ เทพย* (online) บุคคลทั่วไป
3500.0 THB



วิธีชำระค่าลงทะเบียน (ชำระตามยอดที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้)

สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ
 
วิธีการส่งหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากที่ท่านได้ชำระผ่านเคาเตอร์ธนาคาร/ATM แล้ว

1. เขียนรหัสลงทะเบียนของท่าน เช่น C001-0399 และชื่อ-นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เช่น นายประชุม วิชาการ ด้วยปากกาสีเข้ม ลงในใบสลิป (หากท่านชำระเป็นหมู่คณะ ให้เขียนรหัสลงทะเบียนลงใน Slip ให้ครบทุกคน) จากนั้น
2. เตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิป) ผ่านระบบ Online โดยมีวีธีเตรียมไฟล์ดังนี้
 
2.1
ทำการ สแกน (Scan) ใบสลิป แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg หรือ .pdf หรือ .tif หรือ .bmp
2.2
ทำการถ่ายรูปของใบสลิป ด้วยกล้อง Digital/มือถือ บันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg สำหรับวิธีนี้ต้องถ่ายให้เห็น รายละเอียดที่สำคัญได้ชัดเจน อาทิ เลขที่บัญชีที่โอน วันเวลาที่โอน จำนวนเงินที่โอน เป็นต้น
3. ทำการส่งไฟล์หลักฐาน (Upload) เข้ามายังระบบ โดยทำได้โดย เลือกชื่อของท่าน(ด้านบนนี้) จากนั้น คลิกที่ปุ่มส่งหลักฐาน แล้วทำตามขั้นตอนตามที่ระบบแจ้งไว้ เมื่อทำการส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว สถานะของท่านจะเปลี่ยนเป็น รอการตรวจสอบ
4. รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยเข้าไปยังหน้าจอตรวจสอบรายชื่อ ของงานประชุมนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ว่าท่านจ่ายค่าธรรมเนียมจริง เจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนสถานะท่านเป็น เสร็จสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงท่านสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้แล้ว
   

หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน ท่านสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ทันที โดยการคลิก link ภายใน E-mail ที่ทางเราส่งให้
(หากไม่พบ E-Mail ดังกล่าวใน Inbox โปรดตรวจสอบใน Folder junk หรือ spam ด้วย)


**



การใช้ธาตุเหล็กแก้ภาวะโลหิตจาง
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก. ศุภ...
...
ยาฆ่าเชื้อกินไม่ครบ ทำไมจึงดื้อยา
นศภ. ศิรดา เด่นชูวงศ์ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศ...
ผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก
อาจารย์ ดร. ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ ภาควิชาเภสชกรรม คณะเภสัช...



ระบบ MUPY E-Registration Service พัฒนาโดย: งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554