ติดต่อเรา
 



การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง 1st Pharmacokinetics Boot Camp
วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2566
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รหัสหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง: 1002-2-000-034-12-2566 จำนวน 7.0 หน่วยกิต
 
 
   
กระบวนการในการรักษาผู้ป่วยด้วยยานั้นตัวยาในตำรับยานั้นจะประกอบด้วยระบบ 4 ระบบซึ่งได้แก่ ระบบทางเภสัชการ (pharmaceutical process) ซึ่งบอกถึงความคงตัวของตัวยาในตำรับยา คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของยาในตำรับเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยได้รับตัวยาสำคัญอยู่ในขนาดที่ถูกต้อง หลังจากนั้นถ้าหวังผลของตัวยาในกระแสเลือดยาจะเข้าสู่ความสามารถทางชีวเภสัชการของตัวยา (biopharmaceutics) เพื่อให้ตัวยาเข้าสู่กระแสเลือด เร็วหรือช้า และมากหรือ น้อย เพื่อนำยาเข้าสู่ระบบเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics: PK process) เพื่อให้ตัวยาเข้าสู่จุดออกฤทธิ์ และสุดท้ายสุดจะถูกกำจัดทางร่างกาย ตัวยาที่เข้าสู่จุดออกฤทธิ์จะมีผลต่อขบวนการเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics: PD process) ซึ่งอาจจะเป็นผลโดยตรง (direct effect) หรือผลทางอ้อม (indirect effect) มีการเปลี่ยนแปลงที่จุดออกฤทธิ์มีการเปลี่ยนแปลงดัชนีวัดทางชีวภาพ (biomarkers) ซึ่งถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้ถึงในระดับที่แพทย์พอใจหรือผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและไม่เกิดพิษก็จะทำให้ไปถึงระบบสุดท้ายคือระบบในการรักษา (therapeutic system) ความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาตัวยาหรือตำรับยาใหม่ ในประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนาเช่น ประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN (ยกเว้นประเทศสิงค์โปร์) ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จนั้น คอขวดหนึ่งที่สำคัญคือการเข้าใจถึงระบบเภสัชจลน์ศาสตร์อย่างถ่องแท้ การเข้าใจถึงระบบทางเภสัชจลน์ศาสตร์นั้นก็เพื่อหมุนกลไกการวิจัยและพัฒนาตัวยาใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง จะต้องมีการพัฒนาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและเข้มแข็ง

หมายเหตุ: ท่านจะไม่สามารถคลิกที่ปุ่มลงทะเบียนด้านบนได้ กรุณาคลิกที่ปุ่มลงทะเบียนด้านล่างนี้
คลิกเพื่อลงทะเบียน

ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน
https://pharmacy.mahidol.ac.th/conference/PKbootcamp/index.php

กลุ่มเป้าหมาย:

แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ประกอบการ

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร:

E-mail:ภาควิชาเภสัชกรรม E-mail: pyksk2001@yahoo.com.sg (อ. กอบธัม) หรือ jiraporn.lea@mahidol.edu (อ. จิราพร) หรือ pakatip.rue@mahidol.edu (อ. ผกาทิพย์)  โทรศัพท์ :โทร 02-6448694 หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ โทรศัพท์ 087-5597393 E-mail : supattra.kon@mahidol.ac.th

ค่าลงทะเบียน:

นักศึกษา คนไทย (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) 2,000.00 THB
นักศึกษาชาวต่างชาติ (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) 60.00 USD
บุคคลทั่วไป คนไทย (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) 3,000.00 THB
บุคคลทั่วไป ชาวต่างชาติ (ภายใน 30 พฤศจิกายน 2566) 90.00 USD
   

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน :


สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี Academic Conference, Faculty of Pharmacy, Mahidol University โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบหลักฐานการชำระเงินในระบลงทะเบียน (ในวันประชุมโปรดนาใบนาฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)

ดาวน์โหลดเอกสาร :

- โครงการ PK Boot camp new recent updated 19.7.66 หากเปิดไฟล์นี้ไม่ได้คลิกที่นี่
- ขออนุมัติจัดประชุม_Boot Camp หากเปิดไฟล์นี้ไม่ได้คลิกที่นี่ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 29/8/2566 13:17น.
- ขอเชิญชวนประชาสัมพันธ์_Boot camp หากเปิดไฟล์นี้ไม่ได้คลิกที่นี่ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 29/8/2566 13:17น.
   


 
https://tinyurl.com/275ns9p9



 



ท่านที่สมัครผ่านทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ชื่อของท่านจะปรากฏบนเว็บไซต์ภายใน 3 วันทำการ
หากชื่อท่านไม่ขึ้นในเวลาดังกล่าวโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่




รายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์
 
โปรดตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของท่านให้ถูกต้อง ระบบจะใช้ชื่อที่ปรากฎนี้จัดทำประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร(ถ้ามี) หากผิดพลาดโปรดแจ้ง supattra.kon@mahidol.ac.th เพื่อแก้ไข

และ หากท่านประสงค์นำรถเข้ามาจอด โปรด Download และ Print บัตรจอดรถ โดยคลิกที่ปุ่ม "บัตรจอดรถ" หลังชื่อของท่าน

บริการที่จอดรถเป็นสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบ Online เท่านั้นโดยทางคณะจะจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้

สำหรับผู้ลงทะเบียนช่องทางอื่น ท่านสามารถนำรถเข้ามาจอดในคณะได้ โดยทำการแลกบัตรกับ รปภ.
ทั้งนี้ที่จอดรถอาจไม่เพียงพอสำหรับท่าน โปรดเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง บัตรจอดรถ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ส่งหลักฐานการโอนเงินแล้ว(รอตรวจสอบ)

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง ต้องชำระ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานการชำระฯ หรือ ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน  



วิธีชำระค่าลงทะเบียน (ชำระตามยอดที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้)

สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี Academic Conference, Faculty of Pharmacy, Mahidol University
โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบหลักฐานการชำระเงินในระบลงทะเบียน (ในวันประชุมโปรดนาใบนาฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)
 
วิธีการส่งหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากที่ท่านได้ชำระผ่านเคาเตอร์ธนาคาร/ATM แล้ว

1. เขียนรหัสลงทะเบียนของท่าน เช่น C001-0399 และชื่อ-นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เช่น นายประชุม วิชาการ ด้วยปากกาสีเข้ม ลงในใบสลิป (หากท่านชำระเป็นหมู่คณะ ให้เขียนรหัสลงทะเบียนลงใน Slip ให้ครบทุกคน) จากนั้น
2. เตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิป) ผ่านระบบ Online โดยมีวีธีเตรียมไฟล์ดังนี้
 
2.1
ทำการ สแกน (Scan) ใบสลิป แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg หรือ .pdf หรือ .tif หรือ .bmp
2.2
ทำการถ่ายรูปของใบสลิป ด้วยกล้อง Digital/มือถือ บันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg สำหรับวิธีนี้ต้องถ่ายให้เห็น รายละเอียดที่สำคัญได้ชัดเจน อาทิ เลขที่บัญชีที่โอน วันเวลาที่โอน จำนวนเงินที่โอน เป็นต้น
3. ทำการส่งไฟล์หลักฐาน (Upload) เข้ามายังระบบ โดยทำได้โดย เลือกชื่อของท่าน(ด้านบนนี้) จากนั้น คลิกที่ปุ่มส่งหลักฐาน แล้วทำตามขั้นตอนตามที่ระบบแจ้งไว้ เมื่อทำการส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว สถานะของท่านจะเปลี่ยนเป็น รอการตรวจสอบ
4. รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยเข้าไปยังหน้าจอตรวจสอบรายชื่อ ของงานประชุมนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ว่าท่านจ่ายค่าธรรมเนียมจริง เจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนสถานะท่านเป็น เสร็จสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงท่านสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้แล้ว
   

หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน ท่านสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ทันที โดยการคลิก link ภายใน E-mail ที่ทางเราส่งให้
(หากไม่พบ E-Mail ดังกล่าวใน Inbox โปรดตรวจสอบใน Folder junk หรือ spam ด้วย)


**



พลังปกป้องตนเอง... มหัศจรรย์...แห่งชีวิต
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัช...
ผลิตภัณฑ์นมจากพืชกับการใช้บริโภคทดแทนนมวัว
อ.ดร.ภญ. ธฤตา กิติศรีปัญญา ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาว...
ภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก (multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C)
อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหา...
ทีมหมูป่า เด็กติดถ้ำ กับภาวะ Refeeding Syndrome ที่ต้องระวัง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภส...



ระบบ MUPY E-Registration Service พัฒนาโดย: งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554