ติดต่อเรา
 



โครงการบริการวิชาการ “Herbal Appreciation: Herbal Workshop for little botanist”
วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566
อุทยานผีเสื้อและแมลง สวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร
 
 
   
ปัจจุบันการทำโฮมสคูล (Home School) หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า “บ้านเรียน” กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะหลังจากช่วงวิกฤตสถานการณ์โควิด ที่โรงเรียนต้องปิดและมีจัดการศึกษาเป็นแบบระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ปกครองต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและมีส่วนร่วมในการสอนลูกเอง ซึ่งบางบ้านเริ่มมองหาตัวเลือกอื่น เพื่อให้ลูกได้รับการศึกษาโดยการจัดการการเรียนรู้ตามสะดวก ไม่ต้องไปโรงเรียนเหมือนในอดีต โฮมสคูลตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาตินั้น ถูกจัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของการจัดการศึกษาให้เด็กในวัยเรียน ซึ่งครอบครัวพ่อแม่หรือผู้ดูแล สามารถจัดการการศึกษาพื้นฐานให้แก่เด็กเอง โดยที่ไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียน
ในการเรียนแบบโฮมสคูลนั้น บ้านหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เปรียบเสมือนโรงเรียน โดยมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นครู สามารถเลือกรูปแบบการจัดการศึกษาและจัดทำแผนการศึกษาโดยอิงจากความสนใจของลูก มีการสร้างหลักสูตรของตัวเอง อาจจะมีการผสมผสานกันขององค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ที่จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กเป็นคนใฝ่เรียนรู้เข้าใจกระบวนการและวิธีการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จะช่วยให้เด็กสามารถเสริมสร้างความรู้ต่อได้ ซึ่งแผนการศึกษาแบบโฮมสคูลนั้นจะมี องค์ความรู้ ขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการ ไม่แตกต่างจากหลักสูตรในโรงเรียนทั่วไปแต่มีกระบวนการวิธีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว มีการสร้างเสริมกิจกรรมนอกห้องเรียน มีการเข้าร่วมกลุ่ม หรือค่ายกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเข้าสังคม
การประเมินผลของการทำโฮมสคูล แตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของการจัดการเรียน โดยที่วิธีการประเมินก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาด้วย เช่น การดูแฟ้มบันทึกผลงาน (และภาพถ่ายกิจกรรม), การทำแบบประเมิน และ การสัมภาษณ์สอบถามเด็ก เป็นต้น โดยที่จะมีการประเมินจากเขตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อประเมินผ่านแล้วทางครอบครัวจะได้รับการสนับสนุน “เงินอุดหนุนการศึกษา” ซึ่งจะจัดสรรให้กับนักเรียนทุกคน ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ไปจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหมือนกับนักเรียนทั่วไปที่เรียนในระบบโรงเรียนของรัฐ โดยเงินอุดหนุนการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 5 หมวด (ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน) ซึ่งแต่ละระดับชั้นเรียนก็จะได้รับเงินอุดหนุนจำนวนไม่เท่ากัน ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทางภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นว่า ภาควิชาฯ สามารถเข้ามามีบทบาทและมีส่วนช่วยเหลือผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนการสอนนอกหลักสูตรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อที่เรามีความเชี่ยวชาญ เช่น หัวข้อพืชและพืชสมุนไพรรอบตัว รวมถึงความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่พบได้บ่อย สามารถจัดกิจกรรมเพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เด็กประถม และระดับมัธยมศึกษา ในหลายหัวข้อที่มีความน่าสนใจและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันเท่าที่เราจะสามารถจัดให้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมเสริมนอกสถานที่ โดยใช้สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่ที่เด็กและครอบครัวนิยมไปออกกำลังกายและพักผ่อนแล้ว ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและมีพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอยู่ด้วย
ที่ผ่านมาการจัดกิจกรรมเดินชมสวนสาธารณะเผยแพร่ความรู้เรื่องสมุนไพร เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อพืชสมุนไพรของทางภาควิชาฯ ได้รับความสนใจและความนิยมจากประชาชน รวมไปถึงเภสัชกร หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร ซึ่งที่จริงแล้วการจัดโครงการบริการวิชาการในลักษณะนี้ สามารถจะจัดไปถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยต่อเนื่องเป็นโครงการบริการวิชาการ Herbal Appreciation: Herbal Workshop for little botanist โดยเป็นการอบรมแบบเสียค่าใช้จ่ายตามแต่ราคาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม และหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับใบประกาศ โดยกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นในวันและสถานที่ที่ผู้ปกครองและเด็กสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมได้

หมายเหตุ: ท่านจะไม่สามารถคลิกที่ปุ่มลงทะเบียนด้านบนได้ กรุณาคลิกที่ปุ่มลงทะเบียนด้านล่างนี้

ลิงก์ลงทะเบียน

กลุ่มเป้าหมาย:

เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี (หากอายุน้อยกว่า 6 ปี ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย) จำนวน 20-30 คน

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร:

E-mail:ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ E-mail: headpypb@mahidol.ac.th โทรศัพท์มือถือ: 02-6448696  โทรศัพท์ :หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ Email: supattra.kon@mahidol.ac.th โทรศัพท์ 087-5597393

ค่าลงทะเบียน:

ลงทะเบียนและชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 600.00 THB
   

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน :


สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วย

ดาวน์โหลดเอกสาร :

   


 
https://tinyurl.com/2b3yxqmb



 



ท่านที่สมัครผ่านทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ชื่อของท่านจะปรากฏบนเว็บไซต์ภายใน 3 วันทำการ
หากชื่อท่านไม่ขึ้นในเวลาดังกล่าวโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่




รายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์
 
โปรดตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของท่านให้ถูกต้อง ระบบจะใช้ชื่อที่ปรากฎนี้จัดทำประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร(ถ้ามี) หากผิดพลาดโปรดแจ้ง supattra.kon@mahidol.ac.th เพื่อแก้ไข

และ หากท่านประสงค์นำรถเข้ามาจอด โปรด Download และ Print บัตรจอดรถ โดยคลิกที่ปุ่ม "บัตรจอดรถ" หลังชื่อของท่าน

บริการที่จอดรถเป็นสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบ Online เท่านั้นโดยทางคณะจะจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้

สำหรับผู้ลงทะเบียนช่องทางอื่น ท่านสามารถนำรถเข้ามาจอดในคณะได้ โดยทำการแลกบัตรกับ รปภ.
ทั้งนี้ที่จอดรถอาจไม่เพียงพอสำหรับท่าน โปรดเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง บัตรจอดรถ  
1 C186-0001 ด.ช. นภัทร วิเศ******* ลงทะเบียนและชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 online
2 C186-0002 ด.ช. ณคุณ วิเศ******* ลงทะเบียนและชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 online
3 C186-0003 นางสาว ดิสณีย์ ติยะ*********** ลงทะเบียนและชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 online
4 C186-0004 ด.ช. ทัศนะ โลหา**** ลงทะเบียนและชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 online




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ส่งหลักฐานการโอนเงินแล้ว(รอตรวจสอบ)

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง ต้องชำระ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานการชำระฯ หรือ ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน  



วิธีชำระค่าลงทะเบียน (ชำระตามยอดที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้)

สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วย
 
วิธีการส่งหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากที่ท่านได้ชำระผ่านเคาเตอร์ธนาคาร/ATM แล้ว

1. เขียนรหัสลงทะเบียนของท่าน เช่น C001-0399 และชื่อ-นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เช่น นายประชุม วิชาการ ด้วยปากกาสีเข้ม ลงในใบสลิป (หากท่านชำระเป็นหมู่คณะ ให้เขียนรหัสลงทะเบียนลงใน Slip ให้ครบทุกคน) จากนั้น
2. เตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิป) ผ่านระบบ Online โดยมีวีธีเตรียมไฟล์ดังนี้
 
2.1
ทำการ สแกน (Scan) ใบสลิป แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg หรือ .pdf หรือ .tif หรือ .bmp
2.2
ทำการถ่ายรูปของใบสลิป ด้วยกล้อง Digital/มือถือ บันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg สำหรับวิธีนี้ต้องถ่ายให้เห็น รายละเอียดที่สำคัญได้ชัดเจน อาทิ เลขที่บัญชีที่โอน วันเวลาที่โอน จำนวนเงินที่โอน เป็นต้น
3. ทำการส่งไฟล์หลักฐาน (Upload) เข้ามายังระบบ โดยทำได้โดย เลือกชื่อของท่าน(ด้านบนนี้) จากนั้น คลิกที่ปุ่มส่งหลักฐาน แล้วทำตามขั้นตอนตามที่ระบบแจ้งไว้ เมื่อทำการส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว สถานะของท่านจะเปลี่ยนเป็น รอการตรวจสอบ
4. รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยเข้าไปยังหน้าจอตรวจสอบรายชื่อ ของงานประชุมนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ว่าท่านจ่ายค่าธรรมเนียมจริง เจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนสถานะท่านเป็น เสร็จสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงท่านสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้แล้ว
   

หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน ท่านสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ทันที โดยการคลิก link ภายใน E-mail ที่ทางเราส่งให้
(หากไม่พบ E-Mail ดังกล่าวใน Inbox โปรดตรวจสอบใน Folder junk หรือ spam ด้วย)


**



ยาปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและแนวทางการป้องกันตนเอง
อาจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร...
กว่าจะมาเป็นยา
เภสัชกร ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาว...
เมล็ดชะโก...เครื่องเทศสำคัญในพริกแกงข้าวซอย
ผู้ช่วยอาจารย์ ชัยวัฒน์ เอนกลาภากิจ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสั...
ไขมันในเลือดสูง แม้ผอมหุ่นเพรียว .. ทำไม ??
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์ (สอบทานความสมบูรณ์และถูก...



ระบบ MUPY E-Registration Service พัฒนาโดย: งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554