ติดต่อเรา
 



โครงการอบรมวิชาการ เรื่อง รู้ทันการสูงวัย: ความสำคัญของฮอร์โมน (Smart aging: essential endocrinology)
วันที่ 9 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ณ ห้องประชุม 206 ชั้น 2 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รหัสหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง: 1002-2-000-012-07-2563 จำนวน 10.5 หน่วยกิต
 
 
   
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า โครงสร้างด้านประชากรของประเทศไทยเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged society) ตั้งแต่ปี 2548 คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึงร้อยละ 10 และตามการคาดประมาณประชากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ทำให้ทุกภาคส่วนมีการเตรียมความพร้อมสำหรับ“สังคมสูงวัย”อย่างทั่วถึง ทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแล ตลอดจนคนวัยทำงาน เพื่อสามารถเตรียมตัวเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพในสังคมได้ การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสมรรถภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามอายุ รวมทั้งเรื่องโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรัง จะทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งในด้านของการรับประทานยา การรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ พร้อมทั้งออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการเกิดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท และระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อย จะยังพบการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อในผู้สูงอายุได้เช่นกัน โดยจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนและทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับอ่อนทำให้เกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงการทำงานของต่อมไทรอยด์ การเปลี่ยนแปลงการทำงานของต่อมหมวกไต การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนควบคุมระดับแคลเซียม และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนควบคุมความอยากอาหารที่อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เป็นต้น การรักษาและการดูแลตนเองอย่างถูกต้องทั้งในเรื่องอาหาร การใช้สมุนไพร และการดูแลตนเองแบบองค์รวมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นสมควรเปิดการอบรมในหัวข้อ “รู้ทันการสูงวัย: ความสำคัญของฮอร์โมน (Smart aging: essential endocrinology) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบต่อมไร้ท่อในผู้สูงอายุ การรักษาและการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้สามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุข และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของตนเองและคนใกล้ชิดได้

กลุ่มเป้าหมาย:

แพทย์ เภสัชกร พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 100 คน

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร:

E-mail:ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Email: narumon.sak@mahidol.ac.th หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมฯ E-mail: supattra.kon@mahidol.ac.th  โทรศัพท์ :ภาควิชาสรีรวิทยา โทรศัพท์ 02-6448703 หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ โทร.087-5597393

ค่าลงทะเบียน:

ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 3,000.00 THB
ค่าลงทะเบียนหากชำระหลังวันที่ 5 มิถุนายน 2563 3,500.00 THB
   

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน :


โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-462266-0 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการภาควิชาสรีรวิทยา พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ (ในวันอบรมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์/โทรสาร 02-6444536 หรือ ภาควิชาสรีรวิทยา โทรศัพท์ 02-6448703 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน จากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0409.6/ว95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน

ดาวน์โหลดเอกสาร :

   


 
https://tinyurl.com/ybufuwxa



 



ท่านที่สมัครผ่านทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ชื่อของท่านจะปรากฏบนเว็บไซต์ภายใน 3 วันทำการ
หากชื่อท่านไม่ขึ้นในเวลาดังกล่าวโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่




รายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์
 
โปรดตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของท่านให้ถูกต้อง ระบบจะใช้ชื่อที่ปรากฎนี้จัดทำประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร(ถ้ามี) หากผิดพลาดโปรดแจ้ง mupy.conference.regis@gmail.com เพื่อแก้ไข

และ หากท่านประสงค์นำรถเข้ามาจอด โปรด Download และ Print บัตรจอดรถ โดยคลิกที่ปุ่ม "บัตรจอดรถ" หลังชื่อของท่าน

บริการที่จอดรถเป็นสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบ Online เท่านั้นโดยทางคณะจะจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้

สำหรับผู้ลงทะเบียนช่องทางอื่น ท่านสามารถนำรถเข้ามาจอดในคณะได้ โดยทำการแลกบัตรกับ รปภ.
ทั้งนี้ที่จอดรถอาจไม่เพียงพอสำหรับท่าน โปรดเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง บัตรจอดรถ  
1 C149-0001 ภญ. เปลี่ยมสุข แดงเ**** ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 online
2 C149-0004 นพ. ชวภณ กิจห******* ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 online
3 C149-0006 ภก. บุญรักษ์ ถาวร********* ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 online




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ส่งหลักฐานการโอนเงินแล้ว(รอตรวจสอบ)

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง ต้องชำระ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานการชำระฯ หรือ ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน  
1 C149-0002 ภญ. ณัฐปภัสร วิริ******* (online) ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563
3000.0 THB
2 C149-0003 ภญ. นริศรา ผูกจ** (online) ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563
3000.0 THB
3 C149-0005 ภก. สันต์ ดอรอ*** (online) ค่าลงทะเบียนหากชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2563
3000.0 THB



วิธีชำระค่าลงทะเบียน (ชำระตามยอดที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้)

โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-462266-0
ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการภาควิชาสรีรวิทยา พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ (ในวันอบรมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์/โทรสาร 02-6444536 หรือ ภาควิชาสรีรวิทยา โทรศัพท์ 02-6448703
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน จากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0409.6/ว95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
 
วิธีการส่งหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากที่ท่านได้ชำระผ่านเคาเตอร์ธนาคาร/ATM แล้ว

1. เขียนรหัสลงทะเบียนของท่าน เช่น C001-0399 และชื่อ-นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เช่น นายประชุม วิชาการ ด้วยปากกาสีเข้ม ลงในใบสลิป (หากท่านชำระเป็นหมู่คณะ ให้เขียนรหัสลงทะเบียนลงใน Slip ให้ครบทุกคน) จากนั้น
2. เตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิป) ผ่านระบบ Online โดยมีวีธีเตรียมไฟล์ดังนี้
 
2.1
ทำการ สแกน (Scan) ใบสลิป แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg หรือ .pdf หรือ .tif หรือ .bmp
2.2
ทำการถ่ายรูปของใบสลิป ด้วยกล้อง Digital/มือถือ บันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg สำหรับวิธีนี้ต้องถ่ายให้เห็น รายละเอียดที่สำคัญได้ชัดเจน อาทิ เลขที่บัญชีที่โอน วันเวลาที่โอน จำนวนเงินที่โอน เป็นต้น
3. ทำการส่งไฟล์หลักฐาน (Upload) เข้ามายังระบบ โดยทำได้โดย เลือกชื่อของท่าน(ด้านบนนี้) จากนั้น คลิกที่ปุ่มส่งหลักฐาน แล้วทำตามขั้นตอนตามที่ระบบแจ้งไว้ เมื่อทำการส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว สถานะของท่านจะเปลี่ยนเป็น รอการตรวจสอบ
4. รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยเข้าไปยังหน้าจอตรวจสอบรายชื่อ ของงานประชุมนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ว่าท่านจ่ายค่าธรรมเนียมจริง เจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนสถานะท่านเป็น เสร็จสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงท่านสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้แล้ว
   

หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน ท่านสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ทันที โดยการคลิก link ภายใน E-mail ที่ทางเราส่งให้
(หากไม่พบ E-Mail ดังกล่าวใน Inbox โปรดตรวจสอบใน Folder junk หรือ spam ด้วย)


**



Trans-fatty acids in fried foods and baked foods
Associate Professor Vimol Srisukh, Department of Food Chemistry, Faculty of Pharmacy, Mahidol University, Thailand ### Trying to sta...
วิตามินดี แสงแดด และอาการซึมเศร้า
รศ.ดร.ภญ. จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิท...
มะเขือเทศ กับ ไลโคพีน
เภสัชกรหญิงกฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหา...
ยารักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข...



ระบบ MUPY E-Registration Service พัฒนาโดย: งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554