ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

โดย: เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย, เอมิกา ศุขโต    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 65

อาจารย์ที่ปรึกษา: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , วรวรรณ กิจผาติ , สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล , ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ลักษณะการสอบเข้าเรียน, แบบสอบถาม, ปัจจัย, academic achievement, means of getting in, questionnaire, factor
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนผ่านการสอบคัดเลือกระบบโควตา กับนักศึกษาที่เข้าเรียนผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (admission) ทั้งแบบตรงและแบบกลาง ทำการศึกษาในนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2-5 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 420 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) เป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples T-test) และการแจกแจงแบบไคสแควร์ (Chi-Square) ทำโดย 1) แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มตามระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม นักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไปเป็นกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี และ 2) แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการสอบเข้าศึกษา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มกับปัจจัยที่ต้องการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง คือ พฤติกรรมการเรียน (p-value=0.031) สมรรถนะในการเรียน (p-value=0.000) สมรรถนะในการสอบ (p-value=0.000) ความกังวลในการสอบ (p-value=0.001) และทัศนคติต่อคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (p-value=0.018) ในส่วนการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนผ่านระบบการสอบเข้าเรียนที่ต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.036)
abstract:
The objectives of this project were 1) to study factors associated with academic achievement among pharmacy students at the Faculty of Pharmacy, Mahidol University, and 2) to compare the academic achievement of students who got into the faculty by means of direct examination with those admitted via admission, both direct admission and central admission. The study was performed in 420 students from the second to fifth year in 2010 academic year. Data were collected by means of a questionnaire. Grade point average (GPA) was used as an indicator representing academic achievement. Descriptive statistics (i.e., percentage, mean, and standard deviation) and inferential statistics (i.e., independent samples t-test, and chi-square test) were utilized in order to analyze the data. The analysis was divided into two parts. First, students were separated into 2 groups due to their GPA and those with GPA≥3 were classified to have good academic achievement. Second, students were separated into 2 groups due to their means of getting in. Correlations between each group and factors were determined. The study showed that factors significantly related to academic achievement were studying behavior (p-value=0.031), academic competence (p-value=0.000), test competence (p-value=0.000), test anxiety (p-value=0.001), and the attitude towards the faculty (p-value=0.018). In addition, there was a significant difference in academic achievement of students who got into the faculty by different means (p-value=0.036).
.